Deprecated: Function get_magic_quotes_gpc() is deprecated in /var/www/vhosts/pharmanet.co.th/httpdocs/libraries/functions.inc.php on line 43

Deprecated: Function get_magic_quotes_gpc() is deprecated in /var/www/vhosts/pharmanet.co.th/httpdocs/libraries/functions.inc.php on line 43
ฟาร์มาซี โฟกัส ยาสามัญประจำบ้าน Household_Remedy
หน้าแรก
บทความ


 



ยาสามัญประจำบ้าน (Household Remedy)


ยาสามัญประจำบ้าน คือ ยาที่กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาคัดเลือกว่าเป็นยาที่เหมาะสมที่จะให้ประชาชนหาซื้อมาใช้ได้ด้วยตนเอง เพื่อการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่มักจะเกิดขึ้นได้ เป็นยาที่มีความปลอดภัยอย่างสูง หากประชาชนใช้ยาได้อย่างถูกต้องก็จะไม่มีอันตรายเกิดขึ้น ประกอบกับยาดังกล่าวมีราคาย่อมเยา ประชาชนสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา ศูนย์การค้า ร้ายขายของชำ ร้านกาแฟ ปั้มน้ำมัน ป้ายรถเมล์ ตลอดจนหาบเร่ แผงรอย มีขายทั้งในเมืองและตามชนบท ทั้งนี้ก็เพราะกระทรวงสาธารณสุขมีความต้องการให้ยาสามัญประจำบ้าน ได้กระจายไปถึงประชาชนทั่วประเทศ ทำให้ประชาชนดูแลตนเองได้อย่างทั่วถึง จึงไม่บังคับให้ต้องขายยาสามัญประจำบ้านในร้านขายยาเหมือนยาอื่น ๆ ยาสามัญประจำบ้านมีทั้งยาแผนปัจจุบัน และยาแผนโบราณ


ยาแผนปัจจุบันมีทั้งหมด 53 ชนิด นำมาใช้กับโรคหรืออาการของโรคได้ 16 กลุ่ม ยาสามัญประจำบ้านอาจมีชื่อทางการค้า หรือยี่ห้อแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละรายจะตั้งชื่อยาของบริษัทฯ ว่าอย่างไร แต่ควบคู่ไปกับชื่อการค้าจะต้องมีชื่อยาตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ ฉลากของยาสามัญประจำบ้านจะต้องมีคำว่า "ยาสามัญประจำบ้าน" อยู่ในกรอบสีเขียว


 


การเลือกซื้อยา


ในกรณีที่เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะสังเกตว่า มีเลขทะเบียนตำรับยาอยู่บนฉลาก ยาที่ขึ้นทะเบียนแล้วถือว่าเป็นยาที่ได้มาตรฐาน มีสรรพคุณใช้ในการรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคได้ อย่างไรก็ตาม ยาย่อมมีการเสื่อมสภาพ เป็นผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลงได้ตามกาลเวลาและสภาพการเก็บรักษา ดังนั้นควรเลือกซื้อยาใหม่ โดยดูวันผลิต และวันที่สิ้นอายุบนฉลาก ไม่ควรซื้อยาที่สิ้นอายุ หรือหมดอายุแล้ว เพราะนอกจากใช้ไม่ได้ผลแล้ว อาจทำให้เกิดอันตรายได้ด้วย


ควรซื้อยาที่มีฉลาก และเอกสารกำกับยาครบถ้วน มีตัวหนังสืออ่านได้ชัดเจน ภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย ยาที่บรรจุอยู่ก็ต้องมีสภาพดี สมบูรณ์ เช่น ยาเม็ดต้องไม่แตก สีเรียบไม่เป็นจุดด่าง (ยกเว้นยาบางชนิดที่ทำให้มีหลายๆ สีเป็นลายกระ) หากเป็นยาหยอดตาต้องไม่ตกตะกอน ยาน้ำแขวนตะกอน เมื่อเขย่าแล้วยาต้องกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ยาขี้ผึ้งหรือครีมต้องมีเนื้อเนียนผสมเป็นเนื้อเดียว ไม่มีน้ำไหลเยิ้มหรือส่วนที่แห้งแข็ง


 


การใช้ยาสามัญประจำบ้านให้ปลอดภัยมีหลักใหญ่ 3 ประการคือ


1. อ่านฉลากและเอกสารกำกับยาก่อนใช้ยา


2. ใช้ยาให้ถูกต้อง - ถูกโรค ถูกคน ถูกทาง ถูกวิธี ถูกขนาด ถูกเวลา ถูกจำนวนครั้ง


3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาในทางที่ผิดโรคหรืออาการของโรค 16 กลุ่ม กับยาสามัญประจำบ้าน 53 ชนิด


 


1. ยาบรรเทาปวดลดไข้


1. ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้ แอสไพริน


2. ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้ พาราเซตามอล ขนาด 500 มก. และขนาด 325 มก. และยาน้ำ บรรเทาปวดลดไข้ พาราเซตามอล


3. พลาสเตอร์บรรเทาปวด


 


2. ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก


ยาเม็ดแก้แพ้ลดน้ำมูก คลอร์เฟนิรามีน


 


3. ยาแก้ไอ ขับเสมหะ


1. ยาน้ำแก้ไอ ขับเสมหะสำหรับเด็ก


2. ยาแก้ไอน้ำดำ


 


4. ยาดมหรือยาทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก


1. ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนียหอม


2. ยาดมแก้วิงเวียน แก้คัดจมูก


3. ยาทาระเหย บรรเทาอาการคัดจมูกชนิดขี้ผึ้ง


 


5. ยาแก้เมารถ เมาเรือ


ยาแก้เมารถ เมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท


 


6. ยาสำหรับโรคปาก และลำคอ


1. ยากวาดคอ


2. ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เยนเชี่ยนไวโอเลต


3. ยาแก้ปวดฟัน


4. ยาดมบรรเทาอาการระคายคอ


 


7. ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ


1. ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง


2. ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามิ้นท์


3. ยาขับลม


4. ยาน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต


5. ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงค์


6. ยาเม็ดลดกรดอะลูมินา - แมกนีเซีย


7. ยาน้ำลดกรดอะลูมินา-แมกนีเซียม


8. ยาแก้ท้องเสีย


ยาแก้ท้องเสีย ผงน้ำตาลเกลือแร่


9. ยาระบาย


1. ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารหนักสำหรับเด็ก


2. ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารสำหรับผู้ใหญ่


3. ยาระบายแมกนีเซีย


4. ยาระบายมะขามแขก


5. ยาระบายโซเดียมคลอไรด์ ชนิดสวนทวาร


10. ยาถ่ายพยาธิลำไส้


ยาถ่ายพยาธิตัวกลม มีเบนดาโซล ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม ได้แก่ พยาธิเส้นด้าย พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิเข็มหมุด และพยาธิแส้ม้า



11. ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย


ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง


12 ยาสำหรับโรคตา


1. ยาหยอดตา ซัลฟาเซตาไมด์


2. ยาล้างตา


13. ยาสำหรับโรคผิวหนัง


1. ยารักษาหิดเหา เบนซิล เบนโซเอต


2. ยารักษาหิด ขึ้ผึ้งกำมะถัน


3. ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า


4. ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง


5. ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์


6. ยารักษาเกลื้อน โซเดียมไทโอซัลเฟต


14.ยารักษาแผลติดเชื้อไฟไหม้ น้ำร้อนลวก


1.ยารักษาแผลน้ำร้อนลวกฟีนอล


2. ยารักษาแผลติดเชื้อซิลเวอร์ ซัลฟาไดอาซีน ครีม


15. ยาใส่แผล ยาล้างแผล


1. ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไอโอดีน


2. ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล


3. ยาใส่แผลโพวิโดน ไอโอดีน


4. ยาไอโซโบรฟิล แอลกอฮอล์


5. ยาเอทธิล แอลกอฮอล์


6. น้ำเกลือล้างแผล


16.ยาบำรุงร่างกาย


1. ยาเม็ดวิตามินบีรวม


2. ยาเม็ดวิตามินซี


3. ยาเม็ดบำรุงโลหิต เฟอร์รัส ซัลเฟต


4. ยาเม็ดวิตามินรวม


5. ยาน้ำมันตับปลา ชนิดแคปซูล


6. ยาน้ำมันตับปลาชนิดน้ำ



 



รายการยาสามัญประจำบ้าน


 











































































































































































ลำดับ



ชื่อยา



สุตรตำรับ / ขนาดบรรจุ



สรรพคุณ



ขนาดและวิธีใช้



การเก็บรักษา


1

ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย


Aluminium Hydroxide 200-600 mg.

Magnesium Hydroxide 200-400 mg.


แผงพลาสติกหรือ อลูมิเนียมละ4 และ 10 เม็ด


บรรเทาอาการจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ และปวดท้องเนื่องจากมีกรดมาก ในกระเพาะอาหารหรือแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้

เคี้ยวยาก่อนกลืน

รับประทานก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ

ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-4 เม็ด

เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด

(โดยให้คณะอนุกรรมการพิจารณาตำรับยาแผนปัจจุบัน ที่ใช้ สำหรับมนุษย์พิจารณาตามขนาด ที่ถูกต้องตามสูตร ตำรับที่ผู้รับอนุญาต ขอขึ้นทะเบียนตำรับยา)

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

2

ยาน้ำลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย


Aluminium Hydroxide 165-650 mg.

Magnesium Hydroxide 103-500 mg.


ขวดละ 240 มิลลิลิตร และ 450 มิลลิลิตร


เหมือนยาเม็ด

เหมือนยาเม็ด

เหมือนยาเม็ด

3

ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามินท์


Sodium Bicarbonate 300 mg.

Peppermint Oil 0.003 ml.


แผงพลาสติกหรืออลูมิเนียมละ4 และ 10 เม็ด


บรรเทาอาการจุกเสียด ลดอาการระคายเคือง เนื่องจากมีกรดมากในกระเพาะอาหาร

รับประทานหลังอาหาร 1 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ

ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 3-6 เม็ด

เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-3 เม็ด

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

4

ยาขับลม


Capsicum Tincture 0.060-0.500 ml.

Compound Cardamom Tincture 0.035-1.800 ml.

Strong Ginger Tincture 0.024-0.240 ml.


ขวดละ 180 มิลลิลิตร 240 มิลลิลิตร และ 450 มิลลิลิตร


บรรเทาอาการท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลมในกระเพาะอาหาร

เขย่าขวดก่อนใช้ยา

รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง

ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ

เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 หรือ 1 ช้อนโต๊ะ (โดยให้คณะอนุกรรมการพิจารณาตำรับยาแผนปัจจุบัน ที่ใช้ สำหรับมนุษย์พิจารณาตามขนาด ที่ถูกต้องตามสูตรตำรับที่ผู้รับอนุญาต ขอขึ้นทะเบียนตำรับยา)

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียล

5

ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง


Sodium Bicarbonate 0.15-0.60 g.

Compound Rhubarb Tincture 0.50-2.00 ml.

และ/หรือ Tincture อื่นๆ ที่มีสรรพคุณทางยา ได้แก่

Compound Cardamom Tincture 0.01-1.00 ml.

Compound Gentian Tincture 0.18-1.10 ml.

Compound Tinospora Tincture 0.50 ml.

Weak Ginger Tincture 0.48-2.01 ml.

Strong Ginger Tincture 0.10-0.30 ml.

Nux Vomica Tincture 0.09-0.10 ml.

Ipecacuanha Tincture 0.18-0.30 ml.

และ/หรือ Volatile Substance อื่นๆ ที่มีสรรพคุณทางยาได้แก่

Peppermint Spirit 0.15-0.30 ml.

Peppermint Oil 0.03-0.20 ml.

Menthol 0.05-0.30 ml.

Concentrated Dill Water 0.10 ml.

Camphor 19.00 mg.


ขวดละ 180 มิลลิลิตร 240 มิลลิลิตร และ 450 มิลลิลิตร


บรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

เขย่าขวดก่อนใช้ยา

รับประทานก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง

ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ

เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 หรือ 1 ช้อนโต๊ะ

(โดยให้คณะอนุกรรมการพิจารณาตำรับยาแผนปัจจุบัน ที่ใช้ สำหรับมนุษย์พิจารณ าตามขนาดที่ถูกต้องตามสูตร ตำรับที่ผู้รับอนุญาต ขอขึ้นทะเบียนตำรับยา)

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส และป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด

6

ยาน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต


Sodium Bicarbonate 50 mg.

โดยในสูตรตำรับไม่อนุญาตให้ใช้ Alcohol เป็นส่วนผสม


ขวดละ 60 มิลลิลิตร


บรรเทาอาการท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เนื่องจากมีกรดมากในกระเพาะอาหาร

ใช้ป้อนให้ทารกและเด็กหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการ ไม่ควรให้เกินวันละ6 ครั้ง

เด็กอายุ 2-3 ปี ครั้งละ 2-3 ช้อนชา

เด็กอายุ 6-12 เดือน ครั้งละ 2 ช้อนชา

เด็กอายุ 1-6 เดือน ครั้งละ 1 ช้อนชา

ทารกแรกเกิด-1 เดือน ไม่ควรใช้

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส และป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด

7

ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงคุ์


Asafetida 20 % w/v


ขวดละ 15 มิลลิลิตร 30 มิลลิลิตร และ 60 มิลลิลิตร


บรรเทาอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ปวดท้องในเด็ก

ทาบางๆ ที่หน้าท้อง วันละ 2-3 ครั้ง

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส และป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด

8

ยาแก้ท้องเสีย ผงน้ำตาลเกลือแร่


Sodium Chloride 0.875 g.

Sodium Bicarbonate 0.625 g.

Potassium Chloride 0.375 g.

Glucose - Anhydrous 5.000 g.

หรือ

ในสูตรตำรับ 1 ซอง ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ

Sodium Chloride 0.875 g.

Trisodium Citrate Dihydrate 0.725 g..

Potassium Chloride 0.375 g.

Glucose Anhydrous 5.000 g.


1 ซองสำหรับผสมน้ำ 250 มิลลิลิตร


ทดแทนการเสียน้ำในรายที่มีอาการท้องร่วง หรือในรายที่มีอาเจียนมากๆ และป้องกันการช็อคเนื่องจากการที่ร่างกายขาดน้ำ

เทผงยาทั้งซองละลายในน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว ประมาณ 250 มิลลิลิตร (1 แก้ว) ให้ดื่มมากๆ เมื่อเริ่มมีอาการท้องร่วง ถ้าถ่ายบ่อยให้ดื่มบ่อยครั้งขึ้น ถ้าอาเจียนด้วยให้ดื่มทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง

1) เก็บในที่แห้ง และป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด

2) ยาที่ละลายน้ำแล้วเกิน 24 ชั่วโมง ไม่ควรใช้

9

ยาระบายกลีเซอรีนชนิดเหน็บทวารสำหรับเด็ก


Glycerin 91 % w/w


แท่งละ 1.5 กรัม บรรจุแผง


สำหรับบรรเทาอาการท้องผูก ใช้เหน็บทวารหนักเพื่อช่วยการขับถ่าย

ใช้เหน็บทวารหนักครั้งละ 1 แท่ง เมื่อต้องการ ควรรอไว้ 15 นาที เพื่อให้ตัวยาละลาย

เก็บในตู้เย็น และป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด

10

ยาระบายกลีเซอรีนชนิดเหน็บทวารสำหรับผู้ใหญ่


Glycerin 91 % w/w


แท่งละ 2.55 กรัม บรรจุแผง


สำหรับบรรเทาอาการท้องผูก ใช้เหน็บทวารหนักเพื่อช่วยการขับถ่าย

ใช้เหน็บทวารหนักครั้งละ 1 แท่ง เมื่อต้องการ ควรรอไว้ 15 นาที เพื่อให้ตัวยาละลาย

เก็บในตู้เย็น และป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด

11

ยาระบายแมกนีเซีย


Magnesium Hydroxide 1.2 g.


ขวดละ 60 มิลลิลิตร และ120 มิลลิลิตร


ยาระบาย

เขย่าขวดก่อนใช้ยา

รับประทานก่อนนอนหรือตื่นนอนเช้า

ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ (30-45 มิลลิลิตร)

เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ (15-30 มิลลิลิตร)

เด็ก 1-6 ปี รับประทานครั้งละ 1-3 ช้อนชา ( 5-15 มิลลิลิตร)

เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 15-30 องศาเซลเซียส

12

ยาระบายมะขามแขก


ฝักมะขามแขกที่เอาเมล็ดออกแล้ว

ซึ่งมีปริมาณ Sennosides เทียบเท่ากับ Sennoside B 7.5 mg..


แผงพลาสติกหรืออลูมิเนียมละ4 และ10 เม็ด


ยาระบาย

รับประทานก่อนนอนหรือตื่นนอนเช้า

ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 3-4 เม็ด

เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด

เก็บในที่แห้ง และอุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส

13

ยาระบาย โซเดียม คลอไรด์ ชนิดสวนทวาร


Sodium Chloride 15 % w/v


หลอดพลาสติก 10 มิลลิลิตร และ 20 มิลลิลิตร


สำหรับบรรเทาอาการท้องผูก ใช้สวนทวารให้ถ่ายอุจจาระ

สวนเข้าทางทวารหนัก แล้วกลั้นไว้จนทนไว้ไหวจึงเข้าส้วม

ผู้ใหญ่ ใช้ครั้งละ 20-40 มิลลิลิตร

เด็ก 6-12 ปี ใช้ครั้งละ 10-20 มิลลิลิตร

เด็ก 1-6 ปี ใช้ครั้งละ 5-10 มิลลิลิตร

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

14

ยาระบาย โซเดียม คลอไรด์ ชนิดสวนทวาร


Sodium Chloride 15 % w/v


หลอดพลาสติก 10 มิลลิลิตร และ 20 มิลลิลิตร


สำหรับบรรเทาอาการท้องผูก ใช้สวนทวารให้ถ่ายอุจจาระ


สวนเข้าทางทวารหนัก แล้วกลั้นไว้จนทนไว้ไหวจึงเข้าส้วม

ผู้ใหญ่ ใช้ครั้งละ 20-40 มิลลิลิตร

เด็ก 6-12 ปี ใช้ครั้งละ 10-20 มิลลิลิตร

เด็ก 1-6 ปี ใช้ครั้งละ 5-10 มิลลิลิตร


 


เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

15

ยาถ่ายพยาธิลำไส้


Mebendazole 100 mg


แผงพลาสติกหรืออลูมิเนียมละ6 เม็ด



ถ่ายพยาธิเส้นด้าย ตัวกลม


 


เคี้ยวยาให้ละเอียดก่อนกลืน

สำหรับพยาธิเส้นด้ายและพยาธิเข็มหมุด ทั้งเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเย็นเพียงครั้งเดียวสำหรับพยาธิตัวกลมอื่นๆ ได้แก่ พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน และพยาธิแส้ม้า ทั้งเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและเย็นติดต่อกัน 3 วัน และอาจรับประทานซ้ำอีก 1 เม็ด หลังจากการรักษาครั้งแรก 2 สัปดาห์ต่อมา

ป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด

16

ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้แอสไพริน


Aspirin 325 mg.


แผงพลาสติกหรืออลูมิเนียมละ4 และ 10 เม็ด


ลดไข้ บรรเทาอาการปวด

รับประทานหลังอาหารทันทีหรือขณะท้องไม่ว่างแล้วดื่มน้ำตามมากๆ

รับประทานทุกๆ 4 –6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง

ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด

เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด

เด็ก 3-6 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 เม็ด

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

17

ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล 500 มก.


Paracetamol 500 mg.


แผงพลาสติกหรืออลูมิเนียมละ4 และ 10 เม็ด


ลดไข้ บรรเทาอาการปวด

รับประทานทุก 4 หรือ 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 4 ครั้ง

ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด

เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1/2-1 เม็ด

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

18

ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล 325 มก.


Paracetamol 325 mg.


แผงพลาสติกหรืออลูมิเนียมละ4 และ 10 เม็


ลดไข้ บรรเทาอาการปวด

รับประทานทุก 4 หรือ 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง

ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 2 เม็ด

เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

19

ยาน้ำบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล


Paracetamol 120 mg.

โดยในสูตรตำรับไม่อนุญาตให้ใช้ Alcohol เป็นส่วนผสม


ขวดสีชา 30 มิลลิลิตรในกล่องกระดาษพร้อมหลอดหยด (1.2 มิลลิลิตร) และขวดสีชา 60 มิลลิลิตรในกล่องกระดาษพร้อมช้อนชา


ลดไข้ บรรเทาอาการปวด

รับประทานทุก 4 หรือ 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง

- สำหรับขนาดบรรจุขวดละ 60 มิลลิลิตรพร้อมช้อนชาให้แสดงขนาดรับประทานดังนี้

เด็กอายุ 3-6 ปี รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา (5-10 มิลลิลิตร)

เด็กอายุ 1-3 ปี รับประทานครั้งละ 1/2-1 ช้อนชา (2.5-5 มิลลิลิตร)

เด็กอายุ 6 เดือน-1 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 ช้อนชา (2.5 มิลลิลิตร)

- สำหรับขนาดบรรจุขวดละ 30 มิลลิลิตรพร้อมหลอดหยดให้แสดงขนาดรับประทานดังนี้

เด็กอายุ 4-5 เดือน รับประทานครั้งละ 2 หลอดหยด (2.4 มิลลิลิตร)

เด็กอายุ 2-3 เดือน รับประทานครั้งละ 1/2 หลอดหยด (1.8 มิลลิลิตร)

เด็กแรกเกิด –1 เดือน รับประทานครั้งละ 1 หลอดหยด (1.2 มิลลิลิตร)

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

20

พลาสเตอร์บรรเทาปวด

ในสูตรตำรับประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ Volatile Substance ที่มีสรรพคุณทางยา และ/หรือ Herbal Extract และ/หรือ Herbal Substance หนึ่งหรือหลายชนิดผสมกัน ได้แก่

Borneol 0.21-1.00 %w/w

Camphor 1.00-2.80 %w/w.

Caoutchouc 30.00 %w/w

Ethylene Glycol Salicylate 2.00-6.00 %w/w

Eucalyptus Oil 0.50 %w/w

Menthol 0.30-6.49 %w/w

Methyl Salicylate 0.14-6.00 %w/w

Peppermint Oil 0.50-2.00 %w/w

Thymol 0.14-0.50 %w/w

Capsaicin Extract 0.65 %w/w

Polybutene 12.00 %w/w

Capsicum Powder 11.00 %w/w

Capsicum Oleoresin 3.00-11.00 %w/w

และ/หรือ Zinc Oxide 14.00-22.00 %w/w


 


©2010 บริษัท ฟาร์มาเนท จำกัด เลขที่ 32-32/1 ถนน สุขุมวิท 21 (อโศก) แขวง คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม 10110
โทร : 02-260-2443-4 แฟกซ์ : 02-260-2445 Email : service@pharmanet.co.th
line id pharmanet