Deprecated: Function get_magic_quotes_gpc() is deprecated in /var/www/vhosts/pharmanet.co.th/httpdocs/libraries/functions.inc.php on line 43

Deprecated: Function get_magic_quotes_gpc() is deprecated in /var/www/vhosts/pharmanet.co.th/httpdocs/libraries/functions.inc.php on line 43
ฟาร์มาซี โฟกัส โรค...ไซนัสอักเสบ Sinusitis
หน้าแรก
บทความ







โรค...ไซนัสอักเสบ










1. ไซนัสคืออะไร ?



โพรงอากาศข้าง ๆ จมูกที่อยู่ภายในกระดูกใบหน้ามนุษย์ เรียกว่า “ไซนัส” ภายในไซนัสจะมีเซลล์เยื่อบุซึ่งเป็นชนิดเดียวกับเยื่อบุในช่องจมูก และมีรูเปิดขนาดเล็กเป็นทางติดต่อระหว่างไซนัสกับช่องจมูก














2. ไซนัสมีหน้าที่อย่างไร ?



ไซนัส ช่วยให้กระโหลกศีรษะเบา ช่วยให้เสียงพูดก้องกังวานขึ้น ช่วยลดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของความดันในโพรงจมูกระหว่างหายใจ และช่วยสร้างน้ำมูกเพิ่ม โดยเฉพาะเวลาที่จมูกสร้างมูกได้น้อย ไม่พอที่จะกรองเอาฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เพื่อให้อากาศที่หายใจเข้าไปบริสุทธิ์















3. ไซนัสอักเสบเกิดได้อย่างไร ?



ด้านข้างของผนังจมูกจะมีรูเปิดโดยธรรมชาติเป็นช่องทางติดต่อกับโพรงไซนัสข้างละ 4 โพรง ตามปกติช่องทางเหล่านี้ต้องไม่ตีบตัน ซึ่งจะเป็นการเปิดทางให้กระแสอากาศไหลเวียนได้ดี แต่ไซนัสอักเสบจะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีความผิดปกติ ต่อไปนี้



· การอุดตันของรูเปิดระหว่างจมูกกับไซนัส จะทำให้น้ำมูกคั่งค้าง ขังอยู่ในโพรงไซนัส เปิดโอกาสให้เชื้อแบคทีเรียลุกล้ำเข้ามาอาศัยเติบโต ทำให้เกิดการอักเสบ และติดเชื้อของโพรงไซนัสในที่สุด



· การเป็นไข้หวัด ภาวะที่มีมลพิษและสารระคายเคืองในอากาศ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ช่องรูเปิดไซนัสเกิดการอุดตัน โรคภูมิแพ้ และริดสีดวงจมูก เป็นสาเหตุของการอุดตันเรื้อรัง



· การดำน้ำ ว่ายน้ำ โดยเฉพาะหากว่ายน้ำขณะที่เป็นหวัด หรือมีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน



· แรงกดดันอากาศ การเดินทางโดยเครื่องบิน ขณะที่เป็นหวัด



· การติดเชื้อจากฟันกรามซี่บนผ่านรากฟันมาที่โพรงไซนัส



· การติดเชื้อรา เป็นสาเหตุสำคัญของการพบไซนัสอักเสบข้างเดียว



· อุบัติเหตุกระดูกบริเวณใบหน้าแตกหัก



· ต่อมอดีนอยด์บริเวณหลังจมูกโต เป็นสาเหตุสำคัญในผู้ป่วยเด็ก



· สิ่งแปลกปลอมในโพรงจมูก มักพบในเด็กทำให้โพรงไซนัสอับเสบข้างเดียว หรือในผู้ใหญ่ที่ป่วยเรื้อรังที่ต้องใช้สายยางในจมูกเป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น












4. อาการของไซนัสอักเสบเป็นอย่างไร ?



เหมือนกับไข้หวัด มีน้ำมูก แน่นจมูก และไอ แต่ที่สำคัญคือจะมีน้ำมุกมากกว่า 10 วัน น้ำมูกจะค่อนข้างเขียว มีเสมหะไหลลงคอ กระตุ้นให้เกิดอาการไอ โดยเฉพาะเวลากลางคืน คัดจมูก แน่นจมูก ปวดรอบ ๆ จมูก หัวคิ้วหรือหน้าผาก ปวดศีรษะ โดยเฉพาะช่วงเช้า มึน งง บางครั้งหนาว ๆ ร้อน ๆ เหมือนเป็นไข้ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น จุกแน่นในลำคอมีเสมหะในลำคอบ่อย และบางครั้งการรับรู้กลิ่นจะสูญเสียไป ผู้ป่วยแต่ละรายไม่จำเป็นต้องมีอาการครบทุกอย่างที่ว่ามานี้ อาจมีเพียง 1 – 2 อาการที่ว่ามาก็ได้ อาจแบ่งกลุ่มอาการของไซนัสอักเสบ ตามระยะเวลาได้เป็น 2 กลุ่ม คือ “ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน” หมายถึง มีการอักเสบของเยื่อบุไซนัสที่น้อยกว่า 4 สัปดาห์ ส่วน “ไซนัสอักเสบเรื้อรัง” จะหมายถึงเป็นนานมากกว่า 4 – 12 สัปดาห์ ในบางตำราแพทย์ ให้ถือว่าเป็น “ไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน”














5. พบไซนัสอักเสบได้บ่อยแค่ไหน ?



คนปกติมีโอกาศพบไซนัสอักเสบหลังจากเป็นหวัดประมาณร้อยละ 0.5 – 5 ในประชากรทั้วไป 1 ใน 8 คน จะต้องเป็นไซนัสอักเสบในช่วงหนึ่งช่วงใดของชีวิต



แต่บางกลุ่มประชากรพบว่ามีโอกาศเป็นไซนัสอักเสบได้ง่ายกว่า ทั่ว ๆ ไป เช่น



· ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูกพบว่ามีไซนัสอักเสบร่วมด้วยบ่อย ประมาณร้อยละ 50 – 70



· ผู้ที่มีโครงสร้างของจมูกผิดปกติ เช่น มีผนังกั้นกลางจมูกคต



· ผู้ที่สูบบุรี่ หรือ ต้องอยู่บรรยากาศของควันบุรี่เสมอ



· ผู้ที่อยู่ในเขตของมลพิษทางอากาศสูง ฯลฯ













6. หวัดเรื้อรังเป็นภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบ ?



เป็นเรื่องยากที่ผู้ป่วยจะให้การวินิจฉัยตนเอง เพราะอาการของไซนัสอักเสบกับโรคภูมิแพ้มีหลายอย่างที่สับสนกันและบ่อยครั้งที่พบว่าเป็นร่วมกันทั้ง 2 อย่าง แพทย์วินิจฉัยจะตรวจช่องจมูก และทำการสืบค้นเพื่อแยกโรค และกำหนดแนวทางการรักษาต่อไป











7. ภาวะแทรกซ้อนจากไซนัสอักเสบมีอะไรบ้าง ?



ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อลุกลามไปที่อวัยวะข้างเคียงที่อยู่ชิดติดกัน ได้แก่ ตาและสมอง



ตา ทำให้เป็นฝีในเบ้าตาลุกลามไปกดประสาทตา ทำได้ตาบอดได้



สมอง ทำให้เกิดเยื่อบุสมองอักเสบ ฝีในสมอง โชคดีที่ภาวะแทรกซ้อนอันตรายนี้ไม่พบบ่อยแต่ต้องพึงระวังมากกว่าปกติในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำอยู่เดิม เช่น เบาหวาน SLE เป็นต้น



ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่ไม่เป็นอันตรายจะพบบ่อยกว่ามาก ได้แก่ เยื่อบุหลอดคออักเสบเรื้อรัง กล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง ไอเรื้อรัง หอบหืด หูชั้นกลางอักเสบและท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ เป็นต้น บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์เพราะอาการของโรคแทรกซ้อนกลุ่มนี้ มากกว่าอาการของไซนัสอักเสบเสียอีก











8. ไซนัสอักเสบรักษาอย่างไร ?



ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน โดยทั่วไปสามารถรักษาด้วยการให้ยาก็เพียงพอแล้ว หลักสำคัญแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการอักเสบจากการติดเชื้อ ยาแก้คัดจมูกเพื่อลดบวมและขยายรูเปิดของไซนัส และยาละลายเสมหะเพื่อช่วยให้มูกที่จับอยู่ในไซนัสหลุดออกมา ส่วนยาแก้แพ้ปกติจะไม่แนะนำให้ใช้เนื่องจากจะทำให้มูกเหนียวข้นและไหลออกมาได้ยาก จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูกร่วมด้วยเท่านั้น การสูดหายใจจากไอน้ำอุ่นบ่อย ๆ และล้างโพรงจมูกด้วยน้ำเกลือตามที่แพทย์แนะนำก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้มูกในไซนัสอ่อนตัวลงและไหลออกมาได้ง่ายขึ้น การใช้ยาพ่นสเตียรอยด์ที่แพทย์สั่งต้องพ่นหลังจากล้างโพลงจมูกเสร็จแล้วและไม่ควรพ่นขณะยังมีมูกคั่งอยู่ ส่วนใหญ่ไซนัสอักเสบจะดีขึ้นหลังจากรักษาภายในเวลาไม่เกิน 4 อาทิตย์ แต้ถ้าเกิน 3 เดือนยังไม่ดีขึ้น จะถือว่าเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง



ไซนัสอักเสบเรื้อรัง แม้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยให้ยาอย่างเต็มที่แล้วแต่ การรักษาด้วยการใช้ยาอาจไม่เพียงพอ บางครั้งอาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดร่วมด้วยเท่านั้น เช่น การเจาะล้างไซนัส การผ่าตัดสอดกล้องเพื่อขยายรูเปิด การทำบอลลูนขยายรูเปิด การผ่าตัดริดสีดวงจมูก การผ่าตัดแก้ผนังกั้น จมูกคด เป็นต้น หลังการผ่าตัดแล้วอาการรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี เพื่อป้องกันการเกิดเป็นซ้ำซ้อนของโรค



 










9. มีวิธีป้องกันไซนัสอักเสบได้อย่างไร ?



การป้องกันการเป็นหวัด เป็นการป้องกันไซนัสอักเสบที่สำคัญ ได้แก่ การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ งดบุรี่และแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือบริเวณที่มีฝุ่นควันมาก ๆ พยายามรักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้ดี การรักษาร่างกายให้อบอุ่นโดยเฉพาะขณะนอนหลับ ถ้าเป็นหวัดก็ควรรักษาให้หายแต่เนิน ๆ และไม่ควรลงเล่นน้ำขณะเป็นหวัด



ผู้ที่มีประวัติเป็นภูมิแพ้ นอกจากการปฏิบัติข้างต้น ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสารที่แพ้ และควบคุมอาการของโรคภูมิแพ้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ




 


©2010 บริษัท ฟาร์มาเนท จำกัด เลขที่ 32-32/1 ถนน สุขุมวิท 21 (อโศก) แขวง คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม 10110
โทร : 02-260-2443-4 แฟกซ์ : 02-260-2445 Email : service@pharmanet.co.th
line id pharmanet