การจัดสรรพื้นที่ใช้สอยในร้านขายยา |
ร้านขายยา เป็นธุรกิจบริการที่มีกฎหมายควบคุม การเปิดให้บริการต้องขอใบอนุญาตขายยา ซึ่งผู้ขอใบอนุญาตจะต้องมีเภสัชกรที่มีใบประกอบโรคศิลป์เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ปัจจุบันมีการกำหนดมาตรฐานร้านยาโดยสภาเภสัชกรรมฯ เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ ขึ้น มีการประเมินร้านยา และให้การรับรองเมื่อมีคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนด และหนึ่งในข้อกำหนดที่สำคัญคือ การจัดสรรพื้นที่ในร้านยาให้มีส่วนสำคัญสำหรับการให้บริการ |
จึงขอยกตัวอย่างเพื่อแนะนำการแบ่งและการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยในร้านขายยา โดยเบื้องต้น ดังนี้ |
1. พื้นที่ปฏิบัติการของเภสัชกร เป็นพื้นที่สำคัญในการแสดงสินค้าที่เป็นยาต่าง ๆ อันได้แก่
1.1 ยาอันตราย
1.2 ยาควบคุมพิเศษ
1.3 วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
1.4 ยาเสพติด
พื้นที่นี้จะใช้ประมาณ 10 ตารางเมตร ซึ่งต้องมีเภสัชกรเท่านั้นที่เป็นผู้ให้บริการ
2. พื้นที่สำหรับเภสัชกรให้คำปรึกษา – แนะนำ และบริการอื่น ๆ
3. พื้นที่สำหรับการให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แก่คนทั่วไป
|
สำหรับพื้นที่ส่วนที่เหลือจากนี้สามารถที่จะจัดแบ่งให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมกับกิจการได้ดังนี้ คือ |
- พื้นที่เพื่อการพัก - รอ
- พื้นที่จัดแสดงสินค้าอื่น ๆ ได้แก่ ยาสามัญประจำบ้าน อาหารเสริม นมผงสำหรับเด็ก อุปกรณ์ผู้ป่วย อุปกรณ์เพื่อการปฐมพยาบาล เครื่องสำอาง อุปกรณ์กีฬา สินค้าอุปโภค – บริโภค
- พื้นที่เพื่อการส่งเสริมการขายพิเศษ ( Promotion Area )
|
เฟอร์นิเจอร์ภายในร้านขายยาโดยเบื้องต้น ประกอบด้วย |
1. ตู้ติดฝาผนัง เพื่อจัดวางแสดงสินค้า
2. ตู้กระจก เพื่อจัดวางแสดงสินค้า
3. ชั้นวางสินค้า เพื่อจัดวางแสดงสินค้า
4. เก้าอี้ – โซฟา
|
อุปกรณ์ภายในร้าน โดยเบื้องต้น ประกอบด้วย |
1. ตู้เย็นสำหรับเก็บยาเย็น
2. เครื่องชั่งน้ำหนัก – วัดส่วนสูง
3. เครื่องวัดความดัน
4. เครื่องตรวจน้ำตาลไขมันในเลือด
5. Computer
6. Printer
7. เครื่องตีราคา
8. ถุง และซองยา ฯลฯ
|
**==============(^v^)============** |