กรุณาใช้อุปกรณ์ในแนวตั้ง
พฤติกรรม












พฤติกรรม




มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกัน ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจหลากหลายชนิดในแต่ละวัน เช่น


ทานอาหารร่วมกันในครอบครัว


พนักงานเข้าประชุมร่วมกัน


คนเบียดแย่งกันขึ้นรถไฟฟ้า


ไปติดต่องานที่ธนาคาร


ตั้งวงก๊งเหล้ากับเพื่อน ๆ


ไปเที่ยวเป็นกลุ่มเป็นคณะ


ในขณะที่อยู่ร่วมกันก็จะมีปฏิสัมพันธ์กันด้วยการแสดงออกทางร่างกายด้วยกิริยาท่าทางและการพูด ที่แตกต่างกันไปตามอารมณ์และความเคยชินของแต่ละคน


การแสดงออกที่แตกต่างกันจะเป็นผลให้เกิดความรู้สึกต่อผู้ที่ได้สัมผัสด้วย 2 ด้าน คือ


1. ความรู้สึกที่พอใจ (ชอบ) หรือ


2. ความรู้สึกที่ไม่พอใจ (ไม่ชอบ)


ความรู้สึกที่พอใจจะช่วยให้กิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นไปอย่าง ราบรื่นเรียบร้อย ไม่มีปัญหา แต่ความไม่พอใจ จะก่อให้เกิด อุปสรรค ความวุ่นวายและปัญหา การแสดงออกทางร่างกายด้วยกิริยาท่าทางและการพูดนี้ เรียกว่า “พฤติกรรม” ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยพื้นฐานของแต่ละคน คือ


1. สถาบันครอบครัว


2. สภาพแวดล้อมทางสังคม


3. การศึกษา


4. อารมณ์


5. สติสมาธิ ปัญญา


สังคมได้กำหนดลักษณะของพฤติกรรมที่ยอมรับได้กับรับไม่ได้เป็นกรอบของสังคมเอาไว้แล้ว ในขณะเดียวกันแต่ละคนในสังคมก็ยังมีกรอบความยอมรับได้ของตัวเองต่างหาก ดังนั้นการที่จะให้ตัวเองมีพฤติกรรมที่เป็นผลดีกับตัวเองจึงยากลำบาก สมควรที่จะต้องทำความเข้าใจอย่างถูกต้องกับคำว่า พฤติกรรมให้ดีก่อน เพื่อที่จะได้เลือกกำหนดลักษณะของพฤติกรรมดี ๆ ที่เป็นที่ยอมรับของสังคมไว้เป็นแนวทางในการฝึกฝน สร้างให้เกิดขึ้นในตัวเองตลอดไป เพราะพฤติกรรม “สร้างและเปลี่ยนแปลงได้” ถ้ามีความต้องการและตั้งใจให้ได้มาอยู่ในตัวเองอย่างแท้จริง


 







 




 


ความหมายของพฤติกรรม














พฤติกรรม


คือการแสดงออกทางร่างกายด้วยกิริยาท่าทางต่าง ๆ และการพูด เพื่อตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับผ่านประสาทรับสัมผัส


เช่น





แสงฟ้าแลบบนท้องฟ้า


เสียงบีบแตรของรถคันหลัง


กลิ่นไข่เจียวหมูสับ


รสมะนาวที่เปรี้ยวจัด


ผิวหนังที่อบอุ่น นุ่มเนียน


ประสาทรับสัมผัสของร่างกาย


ตา เพื่อ ดู


หู เพื่อ ฟัง


จมูก เพื่อ ได้กลิ่น


ลิ้น เพื่อ รู้รส


ผิวสัมผัส เพื่อ รู้ลักษณะ


เมื่อประสาทรับสัมผัส รับสัมผัสของสิ่งใดก็ตามเข้ามาแล้ว ก็จะมีการประมวลผลแยกแยะจากความรู้และประสบการณ์ว่า เป็นอะไร สำคัญหรือไม่อย่างไร จากนั้นจิตใจก็จะปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ ต่อสัมผัสนั้น แล้วส่งผลไปสู่การตอบสนองด้วยการแสดงออกทางร่างกาย ด้วยกิริยาท่าทางและการพูด ตามอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นอยู่นั้นออกมาเป็น “พฤติกรรม”



การควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่อสัมผัส


อารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อสัมผัสที่เข้ามาเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งของจิตใจ ที่มีความแตกต่างกันด้วยเหตุปัจจัยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้นถ้าเราสามารถควบคุมจิตใจด้วย สติ สมาธิ ปัญญา ก็ย่อมส่งผลให้ได้พฤติกรรมที่ดีด้วยเช่นเดียวกัน













พฤติกรรม

การแสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสัมผัสต่าง ๆ ที่ได้รับ































ขบวนการรับและตอบสนองต่อสัมผัส



รับสัมผัส



รู้สัมผัส



ปรุงแต่ง


อารมณ์



ตอบสนอง



ประสาท


รับสัมผัส



ความรู้


ประสบการณ์



จิต


สภาพแวดล้อม



การแสดงออก


 



ตา


หู


จมูก


ลิ้น


กาย



ประมวล


แยกแยะ



ชอบ


ไม่ชอบ


 


 


 










ควบคุมได้ด้วยสติ





ทางกาย


แววตา


สีหน้า


กิริยาท่าทาง


ทางการพูด


คำพูด


น้ำเสียง



|


|


|


|


|


V


ความรู้สึกของผู้ที่สัมผัสกับการแสดงออก


ชอบ


ไม่ชอบ


 





 


พฤติกรรมที่ดี

พฤติกรรมที่ดี


 













จิต



สภาวะของจิตจะเป็นตัวควบคุมการแสดงออกของพฤติกรรมทุกด้าน




 


 













สภาวะของจิตที่ดี



สดชื่น


ผ่องใส


มีเมตตา


มีสติ


มีสมาธิ


มีปัญญา




|


|


|


V


 



 






















การแสดงออกทางร่างกายและการพูดที่ดี



สีหน้า



แววตา



กิริยาท่าทาง



การพูด



ยิ้มแย้ม


แจ่มใส


ร่าเริง



แจ่มใส


อ่อนโยน


เป็นมิตร



สุภาพ


เรียบร้อย


นุ่มนวล


เป็นกันเอง


ให้เกียรติ


กระตือรือล้น


คล่องแคล่วว่องไว



น้ำเสียง


อ่อนโยน


นุ่มนวล


เป็นมิตร


คำพูด


สุภาพ


เป็นกันเอง


ให้เกียรติ


มีสาระ


เข้าใจง่าย


มีหางเสียง


 



 


×

ข้อมูลเพิ่มเติม

กรุณารอสักครู่...

เชื่อมบัญชี RxNet กับ Facebook




อีเมลนี้มีบัญชีอยู่แล้ว !!

ต้องการเชื่อมบัญชี RxNet กับ Facebook หรือไม่ ?


*** หลังจากการเชื่อมบัญชีแล้วท่านสามารถเข้าสู่ระบบด้วยบัญชี RxNet หรือ Facebook ได้