กรุณาใช้อุปกรณ์ในแนวตั้ง
Common_diseases (คู่มือโรคต่าง ๆ )

คู่มือโรคต่างๆในร้านยา


 


 









 


 


โรคเบาหวาน








คู่มือผู้ป่วยโรคเบาหวาน













 
















































































































































น้ำตาลมีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย

ยารับประทาน (ต่อ)


เบาหวานคืออะไร



ยารับประทาน (ต่อ)

ผู้เป็นเบาหวานจะมีอาการอย่างไร

ยาฉีดอินซูลิน

คู่มือผู้ป่วยเบาหวาน

ยาฉีดอินซูลิน (ต่อ)

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน

หลักการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน

ใครที่มีโอกาสเป็นเบาหวานได้บ้าง

หลักการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน (ต่อ)

เบาหวานถ้าไม่ดูแลรักษาจะเป็นอย่างไร

การฉีดอินซูลิน

ถ้าเป็นเบาหวานจะดูแลรักษาอย่างไร

การฉีดอินซูลิน (ต่อ)

เบาหวานมีกี่ชนิด

การฉีดอินซูลิน (ต่อ)

เหตุใดผู้ป่วยเบาหวานจึงควบคุมอาหาร

การฉีดอินซูลิน (ต่อ)

หลักในการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

การฉีดอินซูลิน (ต่อ)

ผู้ป่วยเบาหวานจะเลือกรับประทานอาหารอย่างไร

ข้อควรทราบในการใช้ยาฉีดอินซูลิน

การกำหนดปริมาณอาหาร "1 ส่วน" ในแต่ละหมวด

บันทึกประวัติการให้คำปรึกษา

คู่มือผู้ป่วยเบหวาน ตารางอาหารแลกเปลี่ยน(ต่อ)

บันทึกประวัติการให้คำปรึกษา

ตารางอาหารแลกเปลี่ยน (ต่อ)

บันทึกตารางนัดพบแพทย์

ตารางอาหารแลกเปลี่ยน (ต่อ)

การประเมินการควบคุมเบาหวาน

การคำนวณปริมาณอาหารต่อวันสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

หนังสืออ้างอิง

คู่มือผู้ป่วยเบาหวาน (เพศและอายุ)

หนังสืออ้างอิง (ต่อ)

การประมาณสัดส่วนอาหารจากพลังงานที่ผู้ป่วยควรได้รับ

แบบสอบถามเกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวาน

รายการอาหารที่ผู้ป่วยจะได้รับพลังงาน 2000 แคลอรี่ต่อวัน

คู่มือผู้ป่วยเบาหวาน

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

คำนำ

หลักการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

สารบัญ

ข้อควรระวังในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

 

ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลสุขภาพอย่างไร

 

1. การดูแลสุขภาพทั่วไป

 

การดูแลสุขภาพทั่วไป (ต่อ)

 

2. การดูแลตา

 

3. การดูแลช่องปากและฟัน

 

4. การดูแลผิวหนัง

 

5. การดูแลเท้า

 

การดูแลเท้า (ต่อ)

 

การดูแลตัวเองในภาวะต่าง ๆ

 

การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนำตาลในเลือด

 

การรักษาเบาหวานด้วยยา

 

ยารับประทาน



 


ตกขาว ( Leukorrhea )








ตกขาว ( Leukorrhea )










หมายถึง ความผิดปกติของช่องคลอดที่มีของเหลวออกมา โดยอาจมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น คัน อักเสบระคายเคือง มีกลิ่นเหม็น ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดตกขาวขึ้นคือ



 













1.ตกขาวปกติตามธรรมชาติ ( Physiological Leukorrhea)


 


อาการ : มีของเหลวข้นใสหรือขาวขุ่นไหลออกมาจากช่องคลอด ไม่คัน ไม่อักเสบ ไม่มีกลิ่น


สาเหตุ : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับของ Hormone Estrogen ในร่างกาย



o ถ้าเป็นในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือนตกขาวจะมีลักษณะเหลวใสปริมาณมาก


o ถ้าเป็นในช่วงก่อนหรือหลังมีประจำเดือนตกขาวจะมีลักษณะข้น ขาวขุ่นคล้ายแป้งเปียก



การรักษา : ไม่ต้องรักษา



 










2.ตกขาวจากการติดเชื้อโรค


 



2.1 ตกขาวจากการติดเชื้อ Bacteria ( Bacteria Vaginosis )




อาการ : มีของเหลวสีขาว-เหลือง-เขียว บางรายอาจคันและมีกลิ่นคาวปลาไหลออกมาจากช่องคลอด


สาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อ Bacteria ได้หลายชนิด เช่น Gardnerella vaginalis , Mycoplasma hominis , Prevotella sp. , Mobiluneus sp. , Bacteroides , Peptostreptococcus


 


การรักษา :



Metronidazole 500 mg bid 7 days


 


 


Metronidazole 2000 mg OD


 


 


Tinidazole 2000 mg OD


 


 


Clindamycin 300 mg bid 7 days





2.2 ตกขาวจากการติดเชื้อรา ( Vaginal Candidiasis )


 


อาการ : มีของเหลวลักษณะจับเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายนมบูด สีขาว มีกลิ่น Yeast ไหลออกมาจากช่องคลอด มีอาการคันที่ปากช่องคลอด


สาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อรา Candida albican หรือ Candida อื่น ๆ


 


การรักษา :


 


Clotrimazole Vaginal tab


 


 


Nystatin Vaginal tab


 


 


Fluconazoloe 150 mg Single dose


 


 


Itraconazole 200 mg bid 1 days


 


 


Ketoconazole 400 mg OD 5 days


 


2.3 ตกขาวจากการติดเชื้อ Protozoa


 


อาการ : มีของเหลวเป็นฟองสีขาว-เหลือง-เขียว มีกลิ่นเหม็นเน่าไหลออกมาจากช่องคลอด อักเสบ แสบช่องคลอดคันมาก


สาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อ Trichomonas valginalis


 


การรักษา :


 


Di-iodohydroxyquin Vaginal tab


 


 


Clotrimazole Vaginal tab


 


 


Metronidazole 2000 mg Single dose


 


 


Tinidazole 2000 mg Single dose










 




 


Migraine (ไมเกรน)

Migraine


 











ไมเกรน : เป็นอาการปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจาก เส้นเลือดในสมองขยายตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ แล้วไปมีผลกระทบกับเส้นประสาทบริเวณนั้นทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่แบ่งได้เป็น 4 ระยะคือ


 















1. ระยะ Prodrome พบได้ 60% ของผู้ป่วยเกิดก่อนอาหาร ปวดศีรษะเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน


โดยอาการอาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ


1.1 Psychological prodrome ได้แก่ ความรู้สึกหดหู่ euphoria หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่ายอ่อนล้า ง่วงนอน


 


1.2 Neurological prodrome ได้แก่ photophobia, phonophobia, hypersomnia


 


1.3 Constitutional prodrome ได้แก่ คนคอแข็ง รู้สึกหนาว ๆ กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร ท้องเสีย บวมน้ำ อยากอาหาร อาการเหล่านี้จะต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่จะมีลักษณะเฉพาะในบุคคลนั้น


 


2. ระยะ Aura พบได้ 20% ของผู้ป่วย โดยจะเกิดขึ้น 5-20 นาทีก่อนอาการปวดศีรษะ และกินเวลาไม่เกิน 60 นาที มักเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น ลักษณะสายตามีความผิดปกติเป็นแบบ hemianopic distribution นอกจากนี้อาจจะมีอาการชาหน้า และแขนขาข้างเดียวกัน


 


3. ระยะปวดศีรษะ มีอาการปวดข้างเดียวแบบตุ้บ ๆ มีอาการมากขึ้นเมื่อมีกิจกรรม เป็นอยู่นาน 4-72 ชั่วโมง ในระยะแรกอาจปวดทั้งสองข้าง ( พบประมาณ 40 % ) หรือเริ่มจากข้างเดียวก่อนแล้วต่อมาเป็นลามทั้งศีรษะ อาการปวดจะเกิดได้ทุกช่วงของวันแต่มักเป็นช่วงเช้า อาการจะค่อย ๆ เป็น


 


อาการที่พบร่วมกัน ได้แก่ คลื่นไส้ พบ 90 % อาเจียนพบ 33% ไวต่อแสงเสียง และกลิ่น อาจมีอาการเห็นภาพไม่ชัด คัดจมูก เบื่อหรืออยากอาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย หนังศีรษะและใบหน้าบวม ส่วนอาการเจ็บหนังศีรษะ เส้นเลือดบริเวณขมับโปน หรือคอแข็งนั้นพบได้บ้าง


 


4. ระยะสิ้นสุดและตามหลังอาการปวดศีรษะ ส่วนมากจะมีอาการตรงข้ามกับระยะ prodrome เช่น


ถ้าระยะ prodrome มีอาการกระหายน้ำ ระยะนี้จะมีอาการปัสสาวะบ่อย


ถ้าระยะ prodrome มีอาการอยากอาหาร ระยะนี้จะมีอาการเบื่ออาหารเป็นต้น



 










การวินิจฉัยไมเกรน โดยอาศัย IHS Classification 1988 แบ่งไมเกรนออกเป็น


 


1. ไมเกรนที่ไม่มีระยะ aura อาศัยหลักดังนี้


 


1.1 เกิดอาการแบบเดียวกันนี้หลายครั้ง (อย่างน้อย 5 ครั้ง)


 


1.2 อาการปวดกินเวลานาน 4-72 ชั่วโมง


 


1.3 ลักษณะอาการปวด 4 อย่าง คือ เป็นข้างเดียว เป็นจังหวะ ปวดปานกลางถึงรุนแรง เป็นรุนแรงขึ้นเมื่อทำกิจกรรม


 


1.4 อาการร่วมได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน กลัวเสียง กลัวแสง


 


1.5 ไม่มีสาเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ปวดศีรษะ


 


2. ไมเกรนที่มีระยะ aura อาศัยหลักดังนี้


 


2.1 เกิดขึ้นบ่อยครั้ง น้อยกว่าของไมเกรนที่ไม่มีระยะ aura (เพียง 2 ครั้ง)


 


2.2 เน้นลักษณะของ aura คือ เป็นนานกว่า 4 นาที แต่ไม่นานกว่า 60 นาที และจะมีอาการปวดศีรษะตามมาภายใน 60 นาที


 


2.3 ไม่มีสาเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ปวดศีรษะ


 


3. ไมเกรนที่มีลักษณะพิเศษอื่น ๆ เช่น


 


3.1 เกี่ยวกับระยะ aura เช่น มีลักษณะของ aura จำเพาะได้แก่มี homonymous visual disturbance, อ่อนแรง หรือชาข้างเดียว, aphasia ใน migraine with typical aura หรือมีระยะ aura นานกว่า 60 นาที แต่น้อยกว่า 7 วัน ใน migraine with prolonged aura หรือมีระยะ aura เกิดสั้นภายใน 4 นาที ใน migraine with acute onset aura


 


3.2 มีประวัติครอบครัวใน familial hemiplegic migraine


 


3.3 basilar migraine มีลักษณะของ aura เป็นอาการที่เกิดที่ basilar artery


 


3.4 ไม่มีอาการปวดศีรษะตามมาใน migraine without headache


 


3.5 เกี่ยวกับอาการทางตา เช่น มีอาการอัมพาตของเส้นประสาทสมองที่ 3,4 และ 6 ใน ophthalmoplegic migraine หรือมี scotoma ใน retinal migraine


 


3.6 เกิดในเด็กได้แก่ benign paroxysmal vertigo of childhood และ alternating gemiplegia of childhood


 


3.7 มีลักษณะเข้าได้มากกว่า 1 รูปแบบของไมเกรน และยังพบว่าผู้ป่วยไมเกรนที่มีระยะ aura มักจะมีช่วงที่เป็นไมเกรนที่ไม่มีระยะ aura ด้วย และจากสถิติของคลินิกปวดศีรษะของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยังพบผู้ป่วยไมเกรนมีอาการปวดศีรษะแบบ tension-type ได้ 23 ราย ต่อผู้ป่วยทั้งหมด 120 ราย


 


 


จากบทความของ


นพ. บัลลังก์ เอกบัณฑิต


และ นพ. กัมมันต์ พันธุมจินดา


 











ข้อแนะนำสำหรับการจัดการกับไมเกรน


1. กินยารักษาอาการให้เร็วที่สุดเมื่อรู้สึกได้ถึงอาการ


2. นอนพักให้ห้องที่มืด-ปิดตา ผ่อนคลายร่างกาย หายใจลึก ๆ


3. ประคบเย็นบริเวณ หัว และคอ


4. เมื่ออาการดีขึ้นก็ให้อาบน้ำอุ่นเพื่อการผ่อนคลาย รวมถึงการเดินผ่อนคลายด้วย


5. นวดด้านหลังคอ และไหล่


6. ใช้หัวแม่มือกดด้วยน้ำหนักที่เหมาะสม บริเวณที่มีอาการปวด ประมาณ 10 วินาที แล้วคลาย


 






 










คำศัพท์


Euphoria = ความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม



Photophobia = ทนแสงไม่ได้



Phonophobia = ทนเสียงไม่ได้



Hypersomnia = นอนนานเกินไป



Hemianopic = ตาบอดครึ่งหนึ่ง



Homonymous = ซึ่งมีชื่อหรือเสียงเดียวกัน, ซึ่งมีความสัมพันธ์เดียวกัน



Asphasia = ไม่สามารถควบคุมหรือเข้าใจการพูด



Hemiplegic = อัมพาตข้างเดียว



Ophthalmoplegic = กล้ามเนื้อตาอัมพาต



Scoloma = จุดบอดคล้ายเกาะของตา




 




 

ท้องผูก ( Constipation )








ท้องผูก ( Constipation )












เป็นอาการผิดปกติที่ไม่ใช่โรค และจะถือว่า ท้องผูกก็ต่อเมื่อมีอาการอย่างน้อย 2 อาการ จากอาการทั้งหมด


ภายในช่วงทุก 12 สัปดาห์ ของรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาคือ


 



1. ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์


2. ถ่ายอุจจาระแห้ง-แข็ง มากกว่า 25% ของจำนวนครั้งที่ถ่าย


3. รู้สึกว่าถ่ายไม่สุดมากกว่า 25% ของจำนวนครั้งที่ถ่าย


4. ต้องใช้แรงแบ่งอย่างมาก มากกว่า 25% ของจำนวนครั้งที่ถ่าย


5. ต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจจาระ


 
















สาเหตุของท้องผูก แบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ


1. เกิดจากความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้


2. เกิดจากความผิดปกติของโครางสร้างและการทำงานของร่างกาย


 








































ความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้ จะมีความเชื่อมโยงกับ


1. ได้รับสารอาหารจำเป็นไม่เพียงพอ



  • กินใยอาหารน้อย (< 25 gm / วัน)


  • ดื่มน้ำน้อย (< 1ลิตร / วัน)



2. การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ



  • ลำไส้บีบตัวน้อย


  • อาหารเคลื่อนตัวช้า


  • โรคลำไส้แปรปรวน (IBS)


  • ยา


  • ความผิดปกติของระบบประสาท



3. ภาวะผิดปกติทางจิต



  • โรคจิตซึมเศร้า


  • เพศสัมพันธ์ผิดปกติ


  • ความเชื่อที่ผิด เกี่ยวกับอาหารและทางเดินอาหาร




ความผิดปกติจากโครงสร้างและการทำงานของร่างกาย


1. กระดูกเชิงกรานผิดปกติ


2. กล้ามเนื้อหูรูดผิดปกติ


3. ไส้เลื่อน


4. ลำไส้ยื่นย้อยเข้าไปในอวัยวะใกล้เคียงหรือยื่นออกมานอกทวารหนัก










ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องผูก


1. การขาดสารอาหารจำเป็น (น้ำ-ใยอาหาร)


2. การจำกัดการเคลื่อนไหว (ขาดการออกกำลังกาย)


3. การกลั้นอุจจาระ


4. การเดินทาง


5. ผลกระทบจาก ยาต่าง ๆ


6. การใช้ยาระบายไม่เหมาะสม


7. การตั้งครรภ์ในระยะสุดท้าย


 



 



กลุ่มยาที่ทำให้ท้องผูก


1. ยาแก้แพ้ (Antihistamine)


2. ยาแก้ปวดต้านอักเสบ (NSAIDs)


3. ยาลดกรด (Antacid)


4. ยารักษาโรคลมชัก (Anticonvulsant)


5. ยารักษาโรคจิตซึมเศร้า (Antidepressant)


6. ยาลดความดันโลหิตสูง


7. ยาขับปัสสาวะ


8. ธาตุเหล็ก


9. กลุ่มยาที่เข้าฝิ่น


10. ยาคลายการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ


11. ยารักษาโรคประสาท


 




Graded treatment of constipation: ขั้นตอนการรักษาอาการท้องผูก


 


 



















Change lifestyle and diet


ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตและการกิน


|



Stop medications which cause constipation


หยุดยาที่มีผลทำให้ท้องผูก


|



Bulk – forming agents


สารเพิ่มมวลอุจจาระ


|



Osmotic laxatives


สารดูดน้ำ


|



















--------------


|



-----------------------


|



---------------


|



Contact laxatives


สารกระตุ้นการบีบตัว


ของลำไส้



Enema


ยาสวน



Prokinetics


ยาควบคุมการทำงาน


ของทางเดินอาหาร


 




ยาระบาย หรือยาถ่ายที่ใช้รักษาอาการท้องผูก (Laxative Purgative)


1.การอุ้มน้ำ เพิ่มมวลอุจจาระ (Bulk forming laxatives)


เป็นสารพวกใยอาหารที่จะอุ้มน้ำ เพิ่มมวลให้อุจจาระและทำให้อุจจาระนิ่ม มีระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์ 24-72 ชั่วโมง ทำให้ถ่ายคล้ายธรรมชาติ ปลอดภัย แต่อาจทำให้เกิด


1. ท้องอืดเนื่องจากมี Gas มาก


2. อุดตันลำไส้เพราะดื่มกับน้ำปริมาณน้อยเกิดไป


เช่น



  • Ispaghula husk


  • Plantago seed


  • Psyllium hydrophilic


  • Mucilloid




2. สารหล่อลื่น (Lubricant laxatives)


เป็นสารหล่อลื่นที่ไม่ดูดซึม ช่วยหล่อลื่นอุจจาระทำให้ถ่ายได้ง่าย ระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์ 8 ชั่วโมง ปลอดภัย ใช้กับคนท้องได้ เช่น



  • Liquid paraffin




3. ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ (Stimulant laxatives)


จะออกฤทธิ์กระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว ระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์ 8-12 ชั่วโมง มักจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วย และเกิดการถ่ายมากกว่า 1 ครั้ง เช่น



  • Bisacodyl


  • Sennoside B


  • Macrogol 4000


  • Bile salt


  • Cascara


  • Phenolphthalein* ไม่ควรใช้เพราะเชื่อว่าเป็นสารก่อมะเร็ง




4. สารที่ดูดน้ำเข้าหาตัว (Osmotic laxatives)


ออกฤทธิ์ดึงน้ำไว้ในลำไส้ ทำให้ลำไส้บีบตัว เช่น



  • NaCI


  • Na phosphate


  • Lactulose


  • Lactitol




5. ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่ม (Stool softener)


Action : ออกฤทธิ์ช่วยลดแรงตึงของผิวอุจจาระ ทำให้น้ำและไขมันไม่ซึมเข้าได้ง่าย อุจจาระนิ่มลง


Note : ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Stool softener


1. ใช้เป็นยาระบาย บรรเทาอาการท้องผูก เช่น



  • Docusate




คำแนะนำ


1. ต้องรู้สภาวะปกติของร่างกาย ไม่ใช้ยาระบายโดยไม่จำเป็น


2. ทานอาหารที่มีเส้นใยในปริมาณที่มากพอ


3. ดื่มน้ำให้มากพอ


4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ


5. จัดเวลาการเข้าส้วมให้เหมาะสมไม่มีสิ่งรบกวน


6. ห้ามกลั้นเมื่อปวดถ่าย




 


ความดันโลหิตสูง (Hypertension)









ความดันโลหิตสูง (Hypertension)




 










ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายเป็นระบบวงจรปิด (Closed system) ที่มีหัวใจ (Heart) เปิดศูนย์กลางทำหน้าที่สูบฉีดเลือด (Blood) ผ่านหลอดเลือด (Blood vessel) เพื่อลำเลียง Oxygen สารอาหาร (Nutrients) Hormones และสารอื่น ๆ ไปยัง Cells ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย แล้วรับเอา Carbondioxide และของเสียอื่น ๆ กลับจาก Cells















การบีบตัวของหัวใจเพื่อดันให้เลือดไหลผ่านเส้นเลือด จะเกิดมีแรงต้านของหลอดเลือดต่อการไหลของเลือด เรียกว่าความดันโลหิต (Blood pressure) ซึ่งมี 2 ค่าดังนี้


1. ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic blood pressure) มีค่าสูงเป็นค่าที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจห้องล่างบีบตัว


2. ค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic blood pressure) มีค่าต่ำกว่า เพราะเป็นค่าที่เกิดขึ้นในขณะที่หัวใจห้องล่างคลายตัว


 















หน่วยวัดความดันโลหิตใช้เป็น มิลลิเมตรปรอท (mm.Hg) โดยมีการแบ่งประเภทของความดันโลหิตตามกำหนดของ (JNC VI I) Seventh report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure.






































ประเภทของความดัน



ความดันโลหิตตัวบน


Systolic (mm Hg.)



ความดันโลหิตตัวล่าง


Diastolic (mm Hg.)



ปกติ Normal



<120



<80



มีแนวโน้มเป็นควมดันโลหิตสูง


(Prehypertension)



120 - 139



80 - 90



ความดันโลหิตสูง Hypertension



 



 



ขั้นที่ 1 Stage 1



140 - 159



90 - 99



ขั้นที่ 2 Stage 2



>160



>100


 

















 


ความดันโลหิตสูง (High blood pressure หรือ Hypertension)


คือภาวะที่หลอดเลือดมีแรงต้านต่อการไหลของเลือดมากกว่าปกติ ซึ่งโดยส่วนใหญ่(มากกว่า 90 %) แล้วจะไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร (Essential or Primary Hypertension)



อาการ


ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุที่มีความรุนแรงน้อยหรือปานกลางมักจะไม่มีอาการแสดงใด ๆ แต่ในบางรายอาจมีการแสดง อาการที่พบได้บ่อย คือ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย และหากผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงมานานโดยไม่ได้รับการรักษาก็อาจจะมีอาการแสดงที่เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ เช่น อาการภาวะหัวใจวาย เจ็บหน้าอก ภาวะไตวาย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุแน่ชัดมักจะมีอาการแสดง ซึ่งแตกต่างกันตามสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง



 


การรักษา


การรักษาความดันโลหิตสูง มีแนวทางของการรักษาจำแนกตามชนิดของความดันโลหิตสูง คือ


1. ความดันเลือดสูงที่ทราบสาเหตุ


ความดันโลหิตสูงชนิดนี้ให้การรักษาโดยการแก้ไขที่สาเหตุ เช่น การทำการผ่าตัด หรือการ


หยุดใช้ยาที่เป็นสาเหตุทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เมื่อกำจัดต้นเหตุได้แล้วความดันเลือดก็จะกลับสู่ระดับปกติ ยกเว้นในบางกรณี


2. ความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุ


ความดันโลหิตสูงชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุนี้พบได้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเป็นส่วนใหญ่เป้าหมาย ของการรักษาคือ เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและการตาย (morbidity และ mortality) ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะ


ความดันโลหิตสูง เช่น stroke, coronary heart disease, congestive heart failure, renal dysfunction เป็นต้น


การรักษาความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น 2 หลักใหญ่ ๆ คือ


1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา


- การควบคุมน้ำหนัก การจำกัดอาหารและการออกกำลังกาย


- การจำกัดปริมาณเกลือ ให้น้อยกว่า 2 gm/ วัน


- การเสริมด้วยแร่ธาตุ เช่น Calcium, Magnesium และ Fish oil


2. การรักษาโดยการใช้ยา


ยาหลักที่เป็นยาลดความดันโลหิตสูง คือยาในกลุ่ม A B C D


- A คือ ACEI,ARB


- B คือ Beta-blockers


- C คือ Calcium Channel Blocker


- D คือ Diuretic


ยาในกลุ่มรอง หมายถึงนำมาใช้ลดความดันโลหิตสูงในบางกรณี ได้แก่


- Alpha-blocker


- Central acting


- Direct vasodilator




 







 





 


 


 




 


คู่มือการรักษาสิว









สิว : สาเหตุและการป้องกัน

1. สิวเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุด และมักเป็นในช่วงเข้าสู่วัยรุ่นช่วงอายุ 12-18ปี บางคนโชคดีเป็นไม่มาก แต่หลายคนเป็นมากจนมีสิวเต็มใบหน้า ทั้งเม็ดเล็กเม็ดใหญ่แถมรอยแผลเป็นและจุดด่างดำ บางคนอาจเป็นสิวที่หน้าอกและหลังด้วย สิวถึงแม้เป็นเรื่องธรรมชาติโดยเฉพาะช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ไม่ใช่ปัญหาสุขภาพที่ก่อผลร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็นับว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพจิต และบุคลิกภาพของผู้ที่เป็นสิว ทำให้หลายคนเกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง อับอาย และอาจถึงเกิดภาวะซึมเศร้าได้ มีงานวิจัยพบว่า ผู้มีสิวที่ใบหน้าที่ยิ่งเป็นมากและเป็นนาน จะมีความผิดปกติทางจิตใจและสังคมมากตามไปด้วย

สิวเกิดจากการที่ฮอร์โมน Androgenซึ่งพบได้ทั้งหญิงและชาย กระตุ้นให้ต่อมไขมันโตขึ้นและผลิตไขมันมากขึ้น ทำให้เกิดการอุดตันของต่อมไขมัน ไขมันที่อุดตันนี้เรียกว่า คอมมิโดน (comedone) ต่อมไขมันที่มีไขมันคั่งค้างเมื่อมีขนาดใหญ่มากจะดันผิวหนังด้านบนให้มองเห็นเป็นเม็ดเล็กๆเรียกสิวหัวขาว หากมีรูเปิดสู่ผิวหนังจะเรียกสิวหัวดำ และหากมีติดเชื้อแบคทีเรีย P.acnes ซึ่งตัวเชื้อจะสลายไขมันไตรกลีเซอไรด์เป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดสิวอักเสบซึ่งมีอาการอักเสบ เป็นตุ่มนูนแดง หรือเป็นหนอง




 













ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว

1. เกิดจากกรรมพันธุ์

2. เกิดจากการแพ้อาหาร เช่น บางคนทานช็อกโกแลต แล้วสิวขึ้นทันที ทานเมื่อไรก็ขึ้นทุกที

3. เกิดจากสภาพอากาศ เช่น บางคนโดนแดดมาก ๆ สิวก็ขึ้นได้คะ

4. เกิดจากสภาวะเครียด เนื่องจากเมื่อเราเครียดการไหลเวียนของเลือดจะเริ่มผิดปกติ ต่อมไขมัน ผลิตไขมันมากจนเกิดสิว นอกจากนี้ความเครียดยังทำให้ความต้านมานโรคของร่างกายต่ำลง ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น

5. เกิดจากระดับฮอร์โมน เช่นในช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือวัยรุ่น โดยกรดไขมันที่เกิดจากากรย่อยไขมันโดยเชื้อโรคจะถูกขับออกมาตามรูขุมขนพร้อมๆกับเชื้อโรคตลอดเวลา แต่ระดับฮอโมนเพศในช่วงดังกล่าวจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตไขมันมากขึ้น ดังนั้นไขมันจึงระบายออกมาไม่ทัน เชื้อโรคจึงมีโอกาสแบ่งตัวมากขึ้น

6. เกิดจากการทาครีม หรือแป้ง ทำให้มีการอุดตันรูระบายไขมัน สารเคมีในสบู่บางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดสิวได้ ครีมบำรุงผิว น้ำมันและโลชั่นบางชนิดอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดสิว













วิธีการป้องกันการเกิดสิวและเคล็ดลับการรักษาสิวที่ถูกวิธี


1. ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Olive Oil, Lanolin, Sodium Laury Sulphate หรือการไปรบกวนบริเวณผิวบ่อย ๆ เช่น การขัดหน้าด้วยสครับ หรือการนวดหน้าด้วยครีมที่ส่วนผสมของน้ำมัน


2. การรับประทานช็อกโกแลตหรืออาหารที่มีความมันไม่ได้ทำให้เกิดสิว


3. การล้างหน้าบ่อย ๆ ทำให้เกิดสิวมากขึ้นเพราะการล้างหน้าบ่อย ๆ จะทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้ง่ายจึงทำให้เกิดสิวได้ง่ายขึ้นควรล้างหน้าวันละ 2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว และควรหลีกเลี่ยงการใช้โฟมล้างหน้า ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวและไม่มีสารก่อให้เกิดคอมมิโดน (Non-comedongenic)


4. ไม่ควรบีบสิวเองเพราะจะทำให้เกิดรอยดำและรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ได้ถ้าเป็นมาก ๆ ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


5. การทาครีมละลายหัวสิวก่อนล้างหน้าจะช่วยให้สิวหลุดออกได้ง่ายจึงทำให้ไม่เป็นสิวอักเสบตามมาภายหลัง


6. การรับประทานยา Isotretinoin ในการรักษาสิวถ้าจะตั้งครรภ์ควรหยุดยาอย่างน้อย 3 เดือน


7. การรับประทานแร่ธาตุสังกะสีจะช่วยลดการอุดตันของรูขุมขนซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดสิวและแร่ธาตุยังช่วยให้วิตามินเอในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น แต่ถ้าเป็นสิวมาก ๆ แร่ธาตุเหล่านี้ก็ไม่สามารถช่วยลดการอักเสบของสิวได้


8. ภาวะเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ระบบขับถ่ายไม่ดี และประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้


9. การรับประทานยาคุมกำเนิดไม่ได้ช่วยในการรักษาสิวโดยตรง ยาคุมกำเนิดเหมาะสำหรับคนที่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายในร่างกายสูงกว่าปกติ เช่นเป็นสิวง่าย หน้ามัน ขนดก


10. การฉีดยารักษาสิวอักเสบเม็ดใหญ่ ๆ ให้ยุบเร็วขึ้นเป็นการรักษาที่ปลายเหตุควรรักษาที่ต้นเหตุของสิวคือรักษาสิวเม็ดเล็ก ๆ โดยการทายาแล้วกดออกก่อนที่สิวเม็ดเล็ก ๆ จะบวมเป็นเม็ดใหญ่เพราะถ้าบวมอักเสบเป็นเม็ดใหญ่แล้วก็จะทำให้เกิดรอยดำและรอยแผลเป็นหลุมได้





 



 



 





 



 





 

แสงแดดกับผิวหนัง








แสงแดดกับผิวหนัง









แสงจากดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยรังสีต่างๆ มากมาย เท่าที่มนุษย์ตรวจพบ แบ่งประเภทออกมาได้ เป็นรังสีคอสมิก แกมม่า เอ็กซ์ อัลตราไวโอเลต อินฟาเรด รังสีที่มองเห็นได้และคลื่นวิทยุโทรทัศน์ รังสีเหล่านี้เราแบ่งประเภทได้โดยใช้ ขนาดคลื่นของมันเป็นตัวกำหนด ซึ่งจะวัดได้โดยใช้เครื่องวัดขนาดคลื่น ประมาณ 1 ใน 3 ของแสงแดดจะถูกดูดซับโดย น้ำ อากาศ โอโซน และบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก คลื่นรังสีที่มีความสำคัญเกี่ยวพันกับผิวหนังของเรา คือ รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) รังสีที่มองเห็นได้ (Visible light) และรังสีอินฟาเรด (Infrared)
















รังสีอัลตราไวโอเลต แบ่งตามช่วงคลื่น เป็น


 


ยูวีเอ (UV-A) เป็นรังสีคลื่นยาว 320-400 nm ทะลุผ่านกระจกได้ จะผ่านผิวหนังชั้นบนเข้าในผิวหนังชั้นลึกลงไปได้ ทำให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้อย่างรวดเร็ว(Immediate tanning) ถ้ามากอาจกระตุ้นให้ผิวสร้าง Melanin ขึ้นใหม่ได้ แม้UV-Aจะไม่ใช่ตัวการหลักที่ทำให้ผิวแก่เหี่ยวย่น และเป็นมะเร็ง แต่การโดนซ้ำๆบ่อยๆ ก็ทำให้มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน


ยูวีบี (UV-B) เป็นรังสีคลื่นสั้น ขนาด 290-320 nm ไม่ทะลุผ่านกระจก จะถูกดูดซับบนผิวชั้นบน ทำให้ผิวสีน้ำตาลช้าๆ(Delay tanning)แต่จะทำให้ผิวอักเสบ แดง ระคายเคือง UV-Aเป็นตัวการหลักทำให้เกิดมะเร็ง และผิวหนังแก่เหี่ยวย่น ถ้าโดนบ่อย


ยูวีซี (UV-C) จัดเป็นรังสีคลื่นสั้นเช่นกัน ขนาด 200-290 nm ปกติไม่พบในโลก เนื่องจากถูกโอโซนในบรรยากาศดูดซับไว้หมด


 


ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 9.00 - 15.00 น. เพราะมีรังสีอัลตร้าไวโอเลตสูงมากกว่า ช่วงเวลาอื่นๆ *(nm = nanometer)



การป้องกันแดด


 


1. การป้องกันตามธรรมชาติ ผิวจะมีการป้องกันตามธรรมขาติอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะผิวของแต่


ละคนแต่ละพันธุกรรมและแต่ละเผ่าพันธ์เชื้อชาติ


2. การป้องกัน โดยการใช้สารกันแดด มี 2 ชนิด คือ


 


2.1 Chemical or absortion sunscreen คือการป้องกันโดยใช้สารกันแดดซึ่งอาจอยู่ในรูปของ ครีม โลชั่น


สเปรย์ แล้วทาบนผิวหนัง สารกันแดดเหล่านี้เป็นสารเคมีถูกดูดซับไปในผิวหนังชั้นบน แล้วทำหน้าที่ดูดซับ รังสีไม่ให้ผ่านลงไปในผิวหนังชั้นใน สารเหล่านี้มี


ข้อดี คือ ราคาถูก และ เมื่ออยู่ในรูปครีม โลชั่น รูปแบบของผลิตภัณฑ์ดูเนื้อดี เมื่อทาก็จะดูดซึมเข้าในผิว ไม่เห็นร่องรอย


ข้อเสีย ของสารเหล่านี้ คือ อาจทำให้แพ้ได้ง่าย


 


2.2 Reflecting Sunblock or Physical Sunblock คือการป้องกันแดด โดยใช้สารทึบแสงจากธรรมชาติ ในรูป


ครีม หรือ โลชั่น ไม่ดูดซึมเข้าผิว ป้องกันรังสีโดยการสะท้อนรังสีออกไป สารเหล่านี้ได้แก่ Titanium dioxide และ Zinc Oxide


ข้อดี ของสารเหล่านี้ คือ ไม่ดูดซึมเข้าในผิว จึงไม่เกิดอาการแพ้ ใช้ได้แม้บริเวณผิวอ่อนหรือผิวเด็กเล็ก  เป็นสารจากธรรมชาติและยังป้องกันแดดในช่วงคลื่นต่างๆ ได้กว้างกว่าแบบเคมี


ข้อเสีย คือ ราคาแพงกว่า, เมื่อทาบนผิว อาจขาวหรือดูเงา ๆ เนื้อครีมอาจเหนอะหนะกว่า



การหาค่าประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดด


 


เพื่อเป็นการเปรียบเทียบค่าของการกันแดดของผลิตภัณฑ์กันแดด แต่ละตำรับ นักวิทยาศาสตร์จึงได้หาวิธีคำนวณค่าประสิทธิภาพขอผลิตภัณฑ์กันแดด ซึ่งเรียกว่า ค่า SPF = Sun Protecting Factor


SPF หมายถึง อัตราส่วน ของ MED ของผิวหนังที่ทาผลิตภัณฑ์กันแดดและ MED ของผิวหนังที่ไม่ได้ทา


ค่า MED (Minimal Erythrema Dose) คือ ขนาด(เวลา) ที่ทำให้เกิดผิวแดงอักเสบ หรือความปกติที่ผิวหนัง


ดังนั้น ค่า SPF คือ อัตราส่วนของ เวลาที่ทำให้เกิดผิวแดงเมื่อทาผลิตภัณฑ์กันแดดนั้น กับ เวลา ที่ทำ


ให้ผิวหนังที่ไม่ได้ทา (ผิวตามธรรมชาติ) เกิดผิวแดง ณ การปล่อยให้ผิวตากแดด ณ ที่เดียวกัน


สรุป ให้ง่าย ค่า SPF คือ จำนวนเท่าของเวลาในการป้องกันแดด เมื่อทาผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นๆว่าเป็น


กี่เท่าของเวลาการป้องกันแดดโดยธรรมชาติของผิว


 















ผลิตภัณฑ์กันแดด ประกอบด้วยอะไร


ก. สารกันแดด



1.Chemical




คือ สารเคมีที่ใช้ป้องกันแดดโดยการดูดซับรังสี UV-A สารเคมีแต่ละตัวจะให้ผลในการดูดซับรังสีได้


ในช่วงคลื่น แตกต่างกัน ในผลิตภัณฑ์กันแดด แต่ละชนิดจึงต้องมีสารกันแดดหลายตัวผสมกันเพื่อให้มีความสามารถในการดูดซับแสง ช่วงคลื่นที่กว้างขวาง (Broad spectrum) สารเคมีที่ใช้มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ


1.1 PABA Group


กลุ่มพาบา ดูดซับรังสีคลื่นสั้นได้ดี ที่นิยมใช้มี Octyl dimethyl PABA (Padimate O) สารกันแดด


กลุ่มนี้นิยมใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากดูดซับแสงได้ดี มีอาการแพ้น้อยเมื่อเปรียบกับสารตัวอื่นๆ แต่มีสารในกลุ่มนี้ตัวหนึ่ง ซึ่งเคยนิยมใช้เมื่อ 30 ปีก่อน แล้วปรากฏภายหลังพบว่าอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง สารตัวนี้ชื่อ Padimate A ซึ่งได้ถูกห้ามใช้ตั้งแต่ปี 2530 ส่วน Padimate O พบว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Padimate A เลย จึงยังเป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางจนปัจจุบัน


1.2 Non-PABA คือ กลุ่มที่ไม่ใช่พาบามีหลายกลุ่มคือ


Bensophenone ดูดซับ UV คลื่นสั้นและยาว


Cinnamates ดูดซับ UV คลื่นสั้น


Antranilate ดูดซับ UV คลื่นสั้น


Homosalate ดูดซับ UV คลื่นสั้นและยาว


กลุ่ม Non-PABA นี้จะก่อให้เกิดอาการแพ้มากกว่ากลุ่ม PABA ระดับความเสี่ยงต่อการแพ้ เรียงตามกลุ่มข้างต้นจากน้อยมาหามาก


การจัดตำรับผลิตภัณฑ์กันแดด ต้องใช้สารกันแดดหลายตัวผสมกัน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งป้องกันรังสีครอบคลุมทุกชนิด และเพื่อเป็นลดอัตราการแพ้



2.Physical or Natural Sunblock




คือ สารกายภาพ หรือ สารธรรมชาติ มีดังนี้


2.1 Titanium dioxide เป็นสารทึบแสง ได้จากธรรมชาติ ถือเป็นดินหรือแร่ชนิดหนึ่ง สามารถป้องกัน


รังสีคลื่นสั้นได้ดีและยังสามารถป้องกันรังสีคลื่นยาวได้อีกระดับหนึ่ง


2.2 Zinc oxide เป็นสารทึบแสงได้จากธรรมชาติเช่นกัน มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ป้องกันรังสีคลื่นยาวได้ดี


ผลิตภัณฑ์กันแดด ซึ่งใช้สารทั้งสองเป็นสารกันแดด จะไม่ดูดซับแสงแต่จะสะท้อนรังสีทั้งหมดออกไป จึงทำให้ไม่เกิดอาการแพ้ โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายนิยมใช้ Titanium oxide ตัวเดียว เนื่องจากการใช้ Zinc oxide ร่วมในตำรับทำให้จัดตำรับผลิตภัณฑ์ยากลำบากขึ้น และครีมซึ่งมี Zinc oxide เมื่อทาแล้วผิวอาจขึ้นขาววาวๆได้


 



ข. รองพื้น (Base)


 


เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์กันแดดมีผลอย่างมากต่อค่าSPF และต้องอยู่ในรูปแบบที่ผู้บริโภคสะดวกใช้ ที่นิยมคือเป็น ครีม โลชั่น สปรย์ หรือ โลชั่นใส แต่ในหลักการต้องให้มีคุณสมบัติ ดังนี้


¨ เนื้อผลิตภัณฑ์ต้องดูดี น่าใช้


¨ เกลี่ย ทา ง่าย


¨ ติดผิวแน่น ทนต่อการถูกน้ำ เหงื่อ ล้างออก คุณสมบัติข้อนี้มีความสำคัญมากต่อค่า SPF ของผลิตภัณฑ์


 












ข้อเปรียบเทียบของสารกันแดด 2 กลุ่ม


























สารกันแดดเคมี



สารกันแดดกายภาพ



1. กลไกดูดซับรังสีไว้ที่โมเลกุลของสารซึ่งทาอยู่บนผิวหนัง



1. กลไกสะท้อนและกระจายรังสีทุกชนิดออกจากผิวหนังทันทีที่ตกกระทบอนุภาคของไทเทเนียมไดออกไซค์และซิงค์ออกไซค์



2. กันแดดช่วงคลื่นสั้นกว่า 280 - 365 นาโนเมตร



2. กันแดดช่วงคลื่นยาวกว่า 260 - 700 นาโนเมตร



3. มีผลสะสมที่ผิวหนัง โอกาสเกิดการแพ้ระคายเคืองได้ง่ายกว่า



3. ปลอดภัยสูงไม่ก่อให้เกิดการแพ้ระคายเคืองใช้ในเด็กเล็กได้ ล้างออกได้ง่าย



4. สลายตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อนหรือรังสีจากดวงอาทิตย์ ทำให้ประสิทธิภาพลดลง



4. ผงแป้งละเอียดมาก พื้นที่ผิวรอบอนุภาคมีมากทำให้สะท้อนและกระจายรังสีได้ดี ช่วยปกปิดรูขุมขนได้ดีมีความคงตัวสูง ไม่ถูกทำลายโดยรังสีความร้อนหรือรังสีจากดวงอาทิตย์



















วิธีทาครีมกันแดด


1. ควรทาครีมกันแดด ทาทิ้งไว้ที่ผิวหนัง ประมาณ 15 - 20 นาที ก่อนออกไปตากแดด


2. ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 15 ขึ้นไป


3. เลือดครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพกันแดดได้ผลดี ปลอดภัยสูง ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ระคายเคือ



 









 


โรค...ไซนัสอักเสบ







โรค...ไซนัสอักเสบ










1. ไซนัสคืออะไร ?



โพรงอากาศข้าง ๆ จมูกที่อยู่ภายในกระดูกใบหน้ามนุษย์ เรียกว่า “ไซนัส” ภายในไซนัสจะมีเซลล์เยื่อบุซึ่งเป็นชนิดเดียวกับเยื่อบุในช่องจมูก และมีรูเปิดขนาดเล็กเป็นทางติดต่อระหว่างไซนัสกับช่องจมูก














2. ไซนัสมีหน้าที่อย่างไร ?



ไซนัส ช่วยให้กระโหลกศีรษะเบา ช่วยให้เสียงพูดก้องกังวานขึ้น ช่วยลดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของความดันในโพรงจมูกระหว่างหายใจ และช่วยสร้างน้ำมูกเพิ่ม โดยเฉพาะเวลาที่จมูกสร้างมูกได้น้อย ไม่พอที่จะกรองเอาฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เพื่อให้อากาศที่หายใจเข้าไปบริสุทธิ์















3. ไซนัสอักเสบเกิดได้อย่างไร ?



ด้านข้างของผนังจมูกจะมีรูเปิดโดยธรรมชาติเป็นช่องทางติดต่อกับโพรงไซนัสข้างละ 4 โพรง ตามปกติช่องทางเหล่านี้ต้องไม่ตีบตัน ซึ่งจะเป็นการเปิดทางให้กระแสอากาศไหลเวียนได้ดี แต่ไซนัสอักเสบจะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีความผิดปกติ ต่อไปนี้



· การอุดตันของรูเปิดระหว่างจมูกกับไซนัส จะทำให้น้ำมูกคั่งค้าง ขังอยู่ในโพรงไซนัส เปิดโอกาสให้เชื้อแบคทีเรียลุกล้ำเข้ามาอาศัยเติบโต ทำให้เกิดการอักเสบ และติดเชื้อของโพรงไซนัสในที่สุด



· การเป็นไข้หวัด ภาวะที่มีมลพิษและสารระคายเคืองในอากาศ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ช่องรูเปิดไซนัสเกิดการอุดตัน โรคภูมิแพ้ และริดสีดวงจมูก เป็นสาเหตุของการอุดตันเรื้อรัง



· การดำน้ำ ว่ายน้ำ โดยเฉพาะหากว่ายน้ำขณะที่เป็นหวัด หรือมีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน



· แรงกดดันอากาศ การเดินทางโดยเครื่องบิน ขณะที่เป็นหวัด



· การติดเชื้อจากฟันกรามซี่บนผ่านรากฟันมาที่โพรงไซนัส



· การติดเชื้อรา เป็นสาเหตุสำคัญของการพบไซนัสอักเสบข้างเดียว



· อุบัติเหตุกระดูกบริเวณใบหน้าแตกหัก



· ต่อมอดีนอยด์บริเวณหลังจมูกโต เป็นสาเหตุสำคัญในผู้ป่วยเด็ก



· สิ่งแปลกปลอมในโพรงจมูก มักพบในเด็กทำให้โพรงไซนัสอับเสบข้างเดียว หรือในผู้ใหญ่ที่ป่วยเรื้อรังที่ต้องใช้สายยางในจมูกเป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น












4. อาการของไซนัสอักเสบเป็นอย่างไร ?



เหมือนกับไข้หวัด มีน้ำมูก แน่นจมูก และไอ แต่ที่สำคัญคือจะมีน้ำมุกมากกว่า 10 วัน น้ำมูกจะค่อนข้างเขียว มีเสมหะไหลลงคอ กระตุ้นให้เกิดอาการไอ โดยเฉพาะเวลากลางคืน คัดจมูก แน่นจมูก ปวดรอบ ๆ จมูก หัวคิ้วหรือหน้าผาก ปวดศีรษะ โดยเฉพาะช่วงเช้า มึน งง บางครั้งหนาว ๆ ร้อน ๆ เหมือนเป็นไข้ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น จุกแน่นในลำคอมีเสมหะในลำคอบ่อย และบางครั้งการรับรู้กลิ่นจะสูญเสียไป ผู้ป่วยแต่ละรายไม่จำเป็นต้องมีอาการครบทุกอย่างที่ว่ามานี้ อาจมีเพียง 1 – 2 อาการที่ว่ามาก็ได้ อาจแบ่งกลุ่มอาการของไซนัสอักเสบ ตามระยะเวลาได้เป็น 2 กลุ่ม คือ “ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน” หมายถึง มีการอักเสบของเยื่อบุไซนัสที่น้อยกว่า 4 สัปดาห์ ส่วน “ไซนัสอักเสบเรื้อรัง” จะหมายถึงเป็นนานมากกว่า 4 – 12 สัปดาห์ ในบางตำราแพทย์ ให้ถือว่าเป็น “ไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน”














5. พบไซนัสอักเสบได้บ่อยแค่ไหน ?



คนปกติมีโอกาศพบไซนัสอักเสบหลังจากเป็นหวัดประมาณร้อยละ 0.5 – 5 ในประชากรทั้วไป 1 ใน 8 คน จะต้องเป็นไซนัสอักเสบในช่วงหนึ่งช่วงใดของชีวิต



แต่บางกลุ่มประชากรพบว่ามีโอกาศเป็นไซนัสอักเสบได้ง่ายกว่า ทั่ว ๆ ไป เช่น



· ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูกพบว่ามีไซนัสอักเสบร่วมด้วยบ่อย ประมาณร้อยละ 50 – 70



· ผู้ที่มีโครงสร้างของจมูกผิดปกติ เช่น มีผนังกั้นกลางจมูกคต



· ผู้ที่สูบบุรี่ หรือ ต้องอยู่บรรยากาศของควันบุรี่เสมอ



· ผู้ที่อยู่ในเขตของมลพิษทางอากาศสูง ฯลฯ













6. หวัดเรื้อรังเป็นภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบ ?



เป็นเรื่องยากที่ผู้ป่วยจะให้การวินิจฉัยตนเอง เพราะอาการของไซนัสอักเสบกับโรคภูมิแพ้มีหลายอย่างที่สับสนกันและบ่อยครั้งที่พบว่าเป็นร่วมกันทั้ง 2 อย่าง แพทย์วินิจฉัยจะตรวจช่องจมูก และทำการสืบค้นเพื่อแยกโรค และกำหนดแนวทางการรักษาต่อไป











7. ภาวะแทรกซ้อนจากไซนัสอักเสบมีอะไรบ้าง ?



ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อลุกลามไปที่อวัยวะข้างเคียงที่อยู่ชิดติดกัน ได้แก่ ตาและสมอง



ตา ทำให้เป็นฝีในเบ้าตาลุกลามไปกดประสาทตา ทำได้ตาบอดได้



สมอง ทำให้เกิดเยื่อบุสมองอักเสบ ฝีในสมอง โชคดีที่ภาวะแทรกซ้อนอันตรายนี้ไม่พบบ่อยแต่ต้องพึงระวังมากกว่าปกติในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำอยู่เดิม เช่น เบาหวาน SLE เป็นต้น



ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่ไม่เป็นอันตรายจะพบบ่อยกว่ามาก ได้แก่ เยื่อบุหลอดคออักเสบเรื้อรัง กล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง ไอเรื้อรัง หอบหืด หูชั้นกลางอักเสบและท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ เป็นต้น บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์เพราะอาการของโรคแทรกซ้อนกลุ่มนี้ มากกว่าอาการของไซนัสอักเสบเสียอีก











8. ไซนัสอักเสบรักษาอย่างไร ?



ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน โดยทั่วไปสามารถรักษาด้วยการให้ยาก็เพียงพอแล้ว หลักสำคัญแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการอักเสบจากการติดเชื้อ ยาแก้คัดจมูกเพื่อลดบวมและขยายรูเปิดของไซนัส และยาละลายเสมหะเพื่อช่วยให้มูกที่จับอยู่ในไซนัสหลุดออกมา ส่วนยาแก้แพ้ปกติจะไม่แนะนำให้ใช้เนื่องจากจะทำให้มูกเหนียวข้นและไหลออกมาได้ยาก จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูกร่วมด้วยเท่านั้น การสูดหายใจจากไอน้ำอุ่นบ่อย ๆ และล้างโพรงจมูกด้วยน้ำเกลือตามที่แพทย์แนะนำก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้มูกในไซนัสอ่อนตัวลงและไหลออกมาได้ง่ายขึ้น การใช้ยาพ่นสเตียรอยด์ที่แพทย์สั่งต้องพ่นหลังจากล้างโพลงจมูกเสร็จแล้วและไม่ควรพ่นขณะยังมีมูกคั่งอยู่ ส่วนใหญ่ไซนัสอักเสบจะดีขึ้นหลังจากรักษาภายในเวลาไม่เกิน 4 อาทิตย์ แต้ถ้าเกิน 3 เดือนยังไม่ดีขึ้น จะถือว่าเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง



ไซนัสอักเสบเรื้อรัง แม้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยให้ยาอย่างเต็มที่แล้วแต่ การรักษาด้วยการใช้ยาอาจไม่เพียงพอ บางครั้งอาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดร่วมด้วยเท่านั้น เช่น การเจาะล้างไซนัส การผ่าตัดสอดกล้องเพื่อขยายรูเปิด การทำบอลลูนขยายรูเปิด การผ่าตัดริดสีดวงจมูก การผ่าตัดแก้ผนังกั้น จมูกคด เป็นต้น หลังการผ่าตัดแล้วอาการรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี เพื่อป้องกันการเกิดเป็นซ้ำซ้อนของโรค



 










9. มีวิธีป้องกันไซนัสอักเสบได้อย่างไร ?



การป้องกันการเป็นหวัด เป็นการป้องกันไซนัสอักเสบที่สำคัญ ได้แก่ การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ งดบุรี่และแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือบริเวณที่มีฝุ่นควันมาก ๆ พยายามรักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้ดี การรักษาร่างกายให้อบอุ่นโดยเฉพาะขณะนอนหลับ ถ้าเป็นหวัดก็ควรรักษาให้หายแต่เนิน ๆ และไม่ควรลงเล่นน้ำขณะเป็นหวัด



ผู้ที่มีประวัติเป็นภูมิแพ้ นอกจากการปฏิบัติข้างต้น ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสารที่แพ้ และควบคุมอาการของโรคภูมิแพ้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ




 


×

ข้อมูลเพิ่มเติม

กรุณารอสักครู่...

เชื่อมบัญชี RxNet กับ Facebook




อีเมลนี้มีบัญชีอยู่แล้ว !!

ต้องการเชื่อมบัญชี RxNet กับ Facebook หรือไม่ ?


*** หลังจากการเชื่อมบัญชีแล้วท่านสามารถเข้าสู่ระบบด้วยบัญชี RxNet หรือ Facebook ได้