การดำเนินธุรกิจร้านยา
ขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการเมื่อคิดจะทำธุรกิจร้านขายยา
ขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการเมื่อคิดจะทำธุรกิจร้านขายยา
|
1. ศึกษาวิเคราะห์และประมวลข้อมูลต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจ
· รายละเอียดและลักษณะเฉพาะทางธุรกิจ
· ความเหมาะสมและความพร้อมของตัวเองกับธุรกิจ
· ตัดสินใจ
|
2. เตรียมธุรกิจ
· กำหนดแผนงานและรายละเอียด
· ดำเนินการ
จัดตั้งองค์กร
จัดหาสถานที่
จัดหาเภสัชกร
ออกแบบตกแต่งสถานที่และป้าย
เตรียมบุคลากร
ดำเนินการขอใบอนุญาตขายยา
กำหนดระบบบริการและอุปกรณ์
กำหนดรายการสินค้าตั้งต้นและปริมาณซื้อ
สำรวจราคาคู่แข่ง กำหนดราคาขายปลีก
ตรวจรับสินค้า – อุปกรณ์
ติดราคาขายปลีก จัดเรียงเข้าที่วางขาย
ทดสอบความพร้อม
เปิดให้บริการ
|
3. ดำเนินธุรกิจ
· ให้บริการ
· บริหารจัดการ
สถานที่
ระบบและอุปกรณ์
สินค้า
บุคลากร
เงิน
การตลาด
|
4. ปรับปรุง -พัฒนา
· วิเคราะห์ ประเมิน วางแผน
|
ลักษณะเฉพาะของธุรกิจร้านขายยา
ลักษณะเฉพาะของธุรกิจร้านขายยา |
1. เป็นธุรกิจบริการเฉพาะชีพ ด้านสุขภาพ ที่มี พ.ร.บ. ยา เป็นกฎหมายควบคุมการดำเนินการ
· การเปิดร้านขายยาต้องขอใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ( ขย.1 ) จาก อย. หรือสาธารณสุขจังหวัด
· การยื่นขอใบอนุญาตต้องประกอบด้วย 2 ฝ่าย
- เจ้าของผู้ดำเนินการ
- เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ( ตลอดเวลาทำการ )
· ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ( ขย.1 ) อนุญาตให้ขายยาได้ดังนี้คือ
ยาอันตราย
ยาควบคุมพิเศษ ( ขายได้ตามใบสั่งยาเท่านั้น )
วัตถุออกฤทธิ์ ต้องขอใบอนุญาตเฉพาะ และขายได้ตาม
ยาเสพติดฯ ใบส่งยาเท่านั้น
ยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ
ยาอันตรายใช้เฉพาะที่
ยาใช้ภายนอก
ยาแผนโบราณ
สินค้าที่มีจำหน่ายได้ในร้านขายยา ( ไม่ควรมีเครื่องดื่ม Alcohol และบุหรี่ ) จัดแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
· สินค้าที่ต้องให้เภสัชกรเป็นผู้ให้บริการส่งมอบ และทำบัญชีชื้อ – ขาย พร้อมลงลายมือชื่อกำกับ ได้แก่
ยาอันตราย
ยาควบคุมพิเศษ
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทฯ
ยาเสพติดฯ
· สินค้าที่ผู้ให้บริการจะเป็นใครก็ได้
ยาสามัญประจำบ้าน
สมุนไพร
ยาแผนโบราณ
อาหารเสริม
เสริมอาหาร
อุปกรณ์สำหรับแพทย์ – ผู้ป่วย
เวชสำอาง
อื่น ๆ
|
2. มีลักษณะเฉพาะของการบริหารและธุรกิจ
· ให้บริการเฉพาะชุมชนที่ตั้งอยู่
· การให้บริการมี 2 ลักษณะ
ตามความต้องการของผู้รับบริการ
ตามการตัดสินใจของผู้ให้บริการ
· ผู้ให้บริการต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ โรคและยา เป็นอย่างดี
· ผู้ให้บริการต้องใช้การสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลมาประกอบการวินิจฉัยโรค และตัดสินใจใช้ยารักษา
ความเชื่อถือ ศัทธา ทำให้เกิดการใช้บริการซ้ำ |
ความเหมาะสมและความพร้อมของตัวเองกับธุรกิจ
ความเหมาะสมและความพร้อมของตัวเองกับธุรกิจ |
1. คุณสมบัติของตัวเอง
· พฤติกรรม
· ความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ซื่อสัตย์
· ความรู้เกี่ยวกับ สุขภาพ การสื่อสาร บริการ และการบริหารจัดการ
· ความสามารถในการให้บริการ และบริหารจัดการ
|
2. ความพร้อมในด้านเงินลงทุน
· สถานประกอบการ
· สินค้าและอุปกรณ์
· การดำเนินการ
· อื่น ๆ
|
การกำหนดแผนงาน
การกำหนดแผนงาน |
แผนงาน : คือ แนวทาง วิธีการ และรายละเอียด ของการดำเนินการเพื่อให้ได้ผลของงานตามความต้องการที่กำหนดไว้ |
ส่วนประกอบของแผนงาน |
1. วัตถุประสงค์ : คือผลลัพธ์ที่ต้องการจากการดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น
· ต้องการให้ลูกค้ามากกว่า 60 % เข้ามาขอคำปรึกษา ภายใน 6 เดือน
· ต้องการให้มีลูกค้ามากกว่า 100 รายภายใน 6 เดือน
· ต้องการให้มูลค่าซื้อของลูกค้า / คน เฉลี่ยมากกว่า 100 บาท ภายใน 6 เดือน
|
2. นโยบาย : คือแนวทางหลักในการดำเนินธุรกิจ จะทำหรือไม่ทำอะไร เช่น
· จะไม่แข่งขันตัดราคา
· จะให้การพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง
· ดำเนินการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
· อื่น ๆ
|
3. กลยุทธ์ : คือวิธีการสำคัญที่จะใช้ดำเนินการ เพื่อให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ เช่น
· เปิดตลอด 24 ชั่วโมง
· ขายสินค้าราคาพิเศษทุกวันศุกร์
· ใช้ระบบสมาชิกซื้อมีส่วนลด 5 %
· อื่น ๆ
|
4. แผนปฎิบัติงานและรายละเอียด : คือขั้นตอนวิธีการ และรายละเอียดของปฎิบัติการต่าง ๆ ว่า
· ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไม
· งบประมาณของกิจกรรมต่าง ๆ
· การควบคุม ประเมิน ตรวจสอบ
|
การบริหารจัดการ และการปรับปรุง พัฒนา
การดำเนินธุรกิจ
สถานที่ : สะอาด เรียบร้อย สวยงาม สมบูรณ์
อุปกรณ์ : ครบถ้วน สะอาด เรียบร้อย ประจำที่ พร้อมใช้งาน
สินค้า : ครบถ้วน สะอาด เรียบร้อย เพียงพอต่อการจำหน่าย ต้นทุนต่ำ และตรงกับความต้องการ
บุคลากร : เพียงพอ และพร้อมให้บริการ ทั้งพฤติกรรม ความรู้ และ Technic
การตลาด : การส่งเสริมการขายที่เหมาะสม
การเงิน : รับ – จ่าย ทั้งเงินสดและผ่านธนาคาร
|
การปรับปรุง – พัฒนา
วิเคราะห์
ประเมิน
วางแผน ปรับปรุง – พัฒนา
|